Page 27 - kpiebook62011
P. 27

23






               เข้าไปดำเนินการสำรวจและจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือฟ้องขับไล่ เจ้าหน้าที่ซึ่งครอบครองใช้สอยที่ดินตลอดจน

               บริวารให้ออกไปจากที่ดินแปลงนั้น พร้อมทั้งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและห้ามไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับที่ดินของ
               ตนอีกต่อไปได้ อนึ่ง ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 ได้กำหนด

               ระยะเวลาในการดำเนินการสำรวจของเจ้าหน้าที่ไว้ว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน แต่ถ้า
               เป็นการเวนคืนเพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ทางรถไฟ ทางพิเศษ คลองชลประทาน หรือกิจการที่คล้ายคลึงกัน
               ต้องสำรวจให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปีนับแต่วันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติว่า

               ในกรณีที่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ตามมาตรา 6 โดยระบุให้มีผลใช้
               บังคับได้ 4 ปี ดังนี้หากการเข้าไปดำเนินการสำรวจของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 9 พ้นระยะเวลา 180 วันหรือ 2 ปี

               แล้วแต่กรณี เจ้าหน้าที่จะยังคงมีอำนาจดำเนินการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินต่อไปจนครบอายุ
               พระราชกฤษฎีกาได้หรือไม่


                     ในเรื่องนี้กรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นว่า เหตุผลที่มาตรา 9 วรรคหนึ่ง
               บัญญัติบังคับให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงที่แน่นอนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้อง
               เวนคืนให้เสร็จภายใน 180 วันหรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับก็เพื่อจะให้มีการ

               แต่งตั้งคณะกรรมการสำหรับทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ตามมาตรา 9
               วรรคหนึ่ง และจะได้มีการเริ่มต้นพิจารณากำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ซึ่งเป็น

               การช่วยให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนได้รับเงินค่าทดแทนโดยเร็ว บทบัญญัติดังกล่าวไม่เกี่ยวกับ
               สิทธิของเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าไปในที่ดินเพื่อทำการสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
               ที่จะเวนคืนแต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงมีสิทธิเข้าไปในที่ดินที่อยู่ภายในเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา

               เพื่อทำการสำรวจจนครบกำหนดเวลา 4 ปีได้

                     สำหรับการเวนคืนที่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ หากปรากฏ
               ข้อเท็จจริงว่าถ้าปล่อยให้เวลาเนิ่นช้าไป จะเป็นอุปสรรคอย่างมากแก่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมหรือ

               ประโยชน์ของรัฐสำคัญอย่างอื่นไม่อาจรอจนถึงขั้นตอนที่มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์
               ในอสังหาริมทรัพย์มาเป็นของรัฐได้ ดังนี้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้

               การเวนคืนนั้นเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนได้ (มาตรา 13 วรรคหนึ่ง) การประกาศกำหนดให้การเวนคืน
               ในกรณีใดเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในทางปฏิบัติจะกระทำเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ผลของ
               การประกาศทำให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ก่อนที่กรรมสิทธิ์

               ในอสังหาริมทรัพย์นั้นจะตกเป็นของรัฐ แต่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือได้มีการวางเงิน
               ค่าทดแทนไว้ต่อศาลเสียก่อนที่จะเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ที่จะเวนคืนนั้น (มาตรา 13 วรรคสอง)


                 2. การโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนโดยการตราพระราชบัญญัติ
               เวนคืนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง (พระราชบัญญัติเวนคืนเฉพาะ)

                     ขั้นตอนในการบังคับโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของเอกชนมาเป็นของรัฐ ตามระบบกฎหมายไทย

               กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยเมื่อได้มีการสำรวจและทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ









                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32