Page 23 - kpiebook62011
P. 23

19






                     การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของประชาชนมีผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่อย่างปกติของประชาชน

               ในสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของตน ซึ่งรัฐได้ตระหนักถึงผลกระทบ ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิด
               ขึ้นจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ รัฐจึงได้ตรากฎหมายขึ้นฉบับหนึ่ง ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน

               อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อกำหนดความหมาย วัตถุประสงค์ ขั้นตอนหรือวิธีการในการเวนคืน
               การกำหนดค่าตอบแทน การอุทธรณ์เงินค่าทดแทน ตลอดจนการฟ้องคดีต่อศาล เป็นกฎหมายกลางที่สร้าง
               ความเป็นธรรมให้แก่ผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการสาธารณะอื่นๆ โดยมีสาระสำคัญดังนี้


               3.1  ที่มาของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์

                      พ.ศ. 2530


                     พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เป็นกฎหมายว่าด้วยการเวนคืน

               อสังหาริมทรัพย์ที่ประกาศใช้แทนพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 โดยมีหลักการ
               สำคัญสี่ประการ ได้แก่


                     ประการแรก คณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มี
               ความจำเป็นโดยเร่งด่วนได้ ผลแห่งการประกาศดังกล่าว ทำให้เจ้าหน้าที่เวนคืนมีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้

               อสังหาริมทรัพย์นั้นได้ก่อนที่จะมีการ (ออกพระราชบัญญัติ) เวนคืน

                     ประการที่สอง เพิ่มหลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนให้เป็นธรรมมากขึ้น

                     ประการที่สาม เปลี่ยนแปลงผู้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ จากรัฐบาล

               เป็นรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา หรือ พระราชบัญญัติ แล้วแต่กรณี และ

                     ประการสุดท้าย ยกเลิกการตั้งอนุญาโตตุลาการ เป็นวิธีอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม

               พระราชบัญญัติเวนคืน

                     อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีบทเฉพาะกาลใน

               มาตรา 36 ที่ยังคงให้การเวนคืนและการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้
               ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่ 20 สิงหาคม 2530 เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไป ให้ดำเนินการตาม

               พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และถ้าได้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นแล้ว
               แต่อนุญาโตตุลาการยังมิได้ชี้ขาดก็ให้เป็นอันยกเลิกอนุญาโตตุลาการ และให้คู่กรณีมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ตามมาตรา
               25 ได้ภายใน 180 วัน นับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ


                     พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นี้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2534 ตาม
               ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ จากเดิมที่บัญญัติ
               ว่า “การกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินให้ถือตามราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อ

               ประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ หรือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการ









                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28