Page 24 - kpiebook62011
P. 24
20
จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์” โดยแก้ไขเป็น “ให้นำหลักเกณฑ์อื่น
มาประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมยิ่งขึ้น เช่น ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติใน
ท้องตลาด สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ตลอดจนเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน”
นอกจากนี้ เพื่อให้การกำหนดค่าทดแทนเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมได้มีการเพิ่มเติมมาตรา
10 ทวิ เพื่อให้มีการแก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนที่ได้กำหนดไว้ได้ ซึ่งมาตรา
ดังกล่าวมีสาระสำคัญโดยสรุปว่า เมื่อคณะกรรมการได้ประกาศราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่จะเวนคืนทั้งหมด
หรือบางส่วนแล้ว หากปรากฏว่าราคาของที่ดินได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ และราคาของอสังหาริมทรัพย์
ที่เจ้าหน้าที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ถูกเวนคืน หรือประกาศไปแล้วก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน รัฐมนตรี
โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการฯ แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์ หรือราคาเบื้องต้น
สำหรับที่ดินเสียใหม่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้
3.2 ภาพรวมของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน
อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีทั้งหมด 4 หมวด 36 มาตรา โดยหมวด
แรกว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะกำหนดเหตุแห่งการเวนคืน การออกกฎหมายเพื่อการเวนคืน
ตลอดจนการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หมวดที่ 2 จะบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทน โดยกำหนดผู้มีสิทธิ
ได้รับเงินค่าทดแทน แนวทางในการกำหนดค่าทดแทน และการอุทธรณ์ค่าทดแทน หมวดที่ 3 จะกำหนดวิธีการ
เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้รวมไปถึงการวางเงิน
ค่าทดแทน และหมวดสุดท้ายเป็นเรื่องเกี่ยวกับบทเบ็ดเสร็จซึ่งกำหนดรายละเอียดทั่วไปรวมถึงการกำหนดโทษ
จากการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
3.3 ความหมายและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน
1. ความหมายของการเวนคืน
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 บัญญัติถึงความหมายของ
คำว่า “เวนคืน” หมายความว่า บังคับเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นตามเงื่อนไขแห่งพระราชบัญญัติ
นี้
เนื่องจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของเอกชนสมัยก่อนมีการบังคับใช้กฎหมายเป็นอำนาจตามพระราช
วินิจฉัยขององค์พระมหากษัตริย์ที่จะเรียกเอาที่ดินคืนจากราษฎร แต่ในปัจจุบัน สิทธิของราษฎรได้รับ
การเคารพและยอมรับมากขึ้น การใช้อำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องตราเป็นกฎหมายโดยการใช้กฎหมาย
บังคับเวนคืนและกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ไว้ในกฎหมายฉบับนี้ เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530