Page 19 - kpiebook62011
P. 19
15
กฎหมายพิเศษต่างๆ นี้ กำหนดการใช้อำนาจรัฐเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของเอกชนมาใช้เพื่อประโยชน์
สาธารณะตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้นๆ แต่กระบวนการหรือขั้นตอนในการเวนคืนกฎหมายเหล่านั้น
ก็โยงมาใช้กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติวิธีการเวนคืน
ไว้โดยเฉพาะ ซึ่งหมายความว่าให้นำพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 หรือ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายกลางในการเวนคืนอสังหา-
ริมทรัพย์โดยทั่วไปมาใช้บังคับ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าขณะนั้นใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
ฉบับใด หากเป็นปัจจุบันก็จะเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
2. กฎหมายที่กำหนดให้อำนาจเวนคืน และกำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการ
เวนคืน
กฎหมายในกลุ่มที่สอง ได้แก่
(1) พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของ
เอกชนมาเพื่อใช้ในการสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในส่วนที่ 2 ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อ
สร้างหรือขยายทางหลวง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ หมวด 1 วิธีการเวนคืน หมวด 2 ค่าทำขวัญ
และหมวด 3 การกำหนดแนวทาง
(2) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2515 ได้ยกเลิก
พระราชบัญญัติทางหลวง พุทธศักราช 2482 โดยมีเหตุผลในการยกเลิกซึ่งมีสาระสำคัญว่ากฎหมาย
ว่าด้วยทางหลวงที่ใช้บังคับอยู่ได้ประกาศใช้มาเป็นเวลานานแล้ว และสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป
มาก สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยทางหลวงเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสอดคล้องกับ
ความเจริญและการพัฒนาประเทศ
สำหรับประกาศคณะปฏิวัตินี้ยังคงมีการกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนแห่งการเวนคืนไว้เป็นการเฉพาะ
ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 ขึ้นใช้บังคับโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2530 ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และ
วิธีการเวนคืนที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 3 ของประกาศคณะปฏิวัติดังกล่าวทั้งหมด และกำหนดใหม่ในข้อ 63 ว่า
“เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ถ้ามิได้ตกลงในเรื่อง
การโอนไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 ยกเลิกประกาศของ
คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 โดยให้เหตุผลในการยกเลิกซึ่งมีสาระสำคัญว่า
เนื่องจากประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วย
ทางหลวงที่ใช้บังคับอยู่ได้ประกาศใช้มาเป็นเวลานานไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สมควรปรับปรุง
กฎหมายว่าด้วยทางหลวงให้สอดคล้องกับความเจริญและการพัฒนา ประเทศจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530