Page 20 - kpiebook62011
P. 20

16






               นี้ ตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่ได้กำหนดเรื่องการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ใน

               ส่วนที่ 3 มาตรา 68 ว่า

                     “เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ถ้ามิได้ตกลงในเรื่อง

               การโอนไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์”

                    (3) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
                        30 พฤศจิกายน 2515 กำหนดให้มีการจัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยขึ้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล

                        ให้มีอำนาจหน้าที่ในการสร้างทางพิเศษเพื่อแก้ไขอุปสรรคในเรื่องเส้นทางการคมนาคมซึ่งมีไม่เพียง
                        พอที่จะอำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันส่งผลกระทบต่อ

                        ความเจริญและการพัฒนาประเทศ ในการนี้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีอำนาจเวนคืน
                        อสังหาริมทรัพย์ของเอกชนมาใช้ในการสร้างหรือขยายทางพิเศษได้ โดยกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์
                        วิธีการ และขั้นตอนการเวนคืนไว้เป็นพิเศษตั้งแต่ข้อ 22 ถึงข้อ 27 ซึ่งต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไข

                        เพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2530 ซึ่งใช้
                        บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2530 ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์ และวิธีการเวนคืนในข้อ 22 ถึงข้อ 27

                        ทั้งหมดและกำหนดใหม่ในข้อ 22 เป็นว่า

                     “เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางพิเศษ ถ้ามิได้ตกลงในเรื่อง

               การโอนไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์”

                     จะเห็นได้ว่ากฎหมายในกลุ่มที่สองนี้ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของ

               เอกชนมาใช้เพื่อการก่อสร้างหรือขยายทางหลวงหรือทางพิเศษดังกล่าว แต่เดิมจะมีบทบัญญัติที่กำหนด
               หลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการเวนคืนเป็นของตนเองซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวบางส่วนก็มีความซ้ำซ้อนกับ
               หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้วในกฎหมายกลางว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติว่า

               ด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497
               แล้วแต่กรณี นอกจากนั้น ยังทำให้การดำเนินการเวนคืนของหน่วยงานตามกฎหมายพิเศษฉบับนั้นๆ

               ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ด้วยเหตุผลดังนี้ ในปี 2530 จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน
               อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2530 โดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติ
               เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวได้ประกาศใช้มานานแล้ว และมีบทบัญญัติ

               บางประการที่ยังไม่เหมาะสม สมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวเสียใหม่เพื่อให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
               เป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรมยิ่งขึ้น

                     นับแต่นั้นเป็นต้นมา พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เป็นกฎหมายกลางว่า

               ด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและกระบวนการใช้อำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปของรัฐที่ใช้บังคับมาจนถึงปัจจุบัน
               ในการนี้ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยทางหลวงและกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษไปพร้อมๆ กัน

               โดยกำหนดให้การเวนคืนตามกฎหมายฉบับดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วย










                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25