Page 25 - kpiebook62011
P. 25
21
2. วัตถุประสงค์ของการเวนคืน
การใช้อำนาจเวนคืนเป็นการริดรอนสิทธิในทรัพย์สินของเอกชน จึงกำหนดขอบเขตในการใช้อำนาจ
เวนคืนไว้ว่าต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการอันเป็นสาธารณประโยชน์ เมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วย
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์อสังหาริมทรัพย์
ที่ถูกเวนคืนไว้ดังนี้
(1) เพื่อการสาธารณูปโภค หมายถึง การอันเป็นประโยชน์แก่ประชาชนโดยทั่วไป เช่น จัดให้มีไฟฟ้า
น้ำประปา ทางหลวง ทางรถไฟ เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลจะเวนคืนที่ดินของประชาชนมาใช้ประโยชน์
เพื่อกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคเหล่านี้ได้
(2) เพื่อการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศโดยตรง เช่น รัฐเวนคืนที่ดินมาใช้เกี่ยวกับราชการทหาร
โดยนำมาใช้สรัางป้อมยาม สนามบิน หรือค่ายทหาร เป็นต้น
(3) เพื่อการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่น รัฐเวนคืนที่ดินมาใช้เพื่อการค้นหาแร่หรือเชื้อเพลิงเพื่อใช้ใน
การผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
(4) เพื่อประโยชน์ในการผังเมือง
(5) เพื่อการพัฒนาการเกษตร เช่น รัฐเวนคืนที่ดินมาเพื่อจัดสร้างสถานีทดลองทางการเกษตรเพื่อทำวิจัย
เกี่ยวกับพืชหรือสัตว์เพื่อนำผลการทดลองออกเผยแพร่แก่กสิกรอันเป็นการช่วยในการเพิ่มผลผลิต
ทางการเกษตรทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ
(6) เพื่อการอุตสาหกรรม เช่น เวนคืนที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดตั้ง หรือขยายนิคมอุตสาหกรรม
(7) เพื่อการปฏิรูปที่ดิน เช่น รัฐเวนคืนที่ดินมาเพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ซึ่งไม่มีที่ดินทำกินหรือมีแต่เพียง
เล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพได้ใช้ที่ดินเพื่อประกอบอาชีพทางการเกษตร
(8) เพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น กล่าวคือ นอกจากการเวนคืนที่มีวัตถุประสงค์ 7 ประการดังกล่าว
แล้ว รัฐยังสามารถเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นได้อีก เป็นเพราะ
ผู้ร่างได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเมื่อบ้านเมืองมีความเจริญมากขึ้น รัฐก็มีความจำเป็นจะต้องเวนคืน
ทรัพย์สินของประชาชนมาใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ อันเป็นประโยชน์สาธารณะในรูปแบบใหม่ๆ
มากขึ้นนั่นเอง
3.4 ขั้นตอนหรือวิธีการในการเวนคืน
ขั้นตอนและวิธีการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 อาจแยก
พิจารณาได้ดังต่อไปนี้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530