Page 30 - kpiebook62011
P. 30

26






               (2) อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายใช้เป็นที่อยู่อาศัย หรือประกอบ

               การค้าขาย หรือการงานอันชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถ้าเข้ากรณีนี้ มาตรา 21 วรรคท้าย ยังได้กำหนดค่าตอบแทน
               สำหรับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์นั้นเพิ่มได้ด้วย และ (3) อสังหาริมทรัพย์

               ประเภทที่เหลืออยู่จากการเวนคืนซึ่งกฎหมายได้กำหนด เงื่อนไขไว้ 2 กรณี คือ (3.1) ถ้าผู้ถูกเวนคืน
               มีอสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่และอสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาสูงขึ้น ก็ให้หักราคาที่สูงขึ้นนั้นออกจาก
               เงินค่าทดแทนโดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 21

               วรรคสองและวรรคสี่ และ (3.2) ถ้าอสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาลดลงก็ให้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับ
               การที่ส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลงด้วย


                     ในส่วนของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโรงเรือนนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นการเฉพาะ แยกเป็น
               กรณีที่ดินแบ่งเป็นที่ดินทั่วไป ที่ดินมีสิ่งปลูกสร้างโรงเรือนที่ไดัสรัางหรือต่อเติม ที่ดินที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือ

               ประกอบการค้าฯ ที่ดินที่มิได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์อย่างแท้จริงภายในห้าปีนับแต่วันที่เจ้าของได้มา
               ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนฯ กรณีสิ่งปลูกสร้างโรงเรือนแบ่งได้เป็นโรงเรือนทั่วไป สิ่งปลูกสร้างโรงเรือน
               ประเภทที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าฯ สิ่งปลูกสร้างโรงเรือนที่เหลือจากการเวนคืนไม่ว่าจะเป็น

               สิ่งปลูกสร้างโรงเรือนที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นหรือลดลง และสิ่งปลูกสร้างโรงเรือนที่เหลืออยู่ใช้การไม่ได้
               โดยทั้งหมดนี้มีกฎหมายกำหนดแนวทางการให้ค่าทดแทนไว้เป็นการเฉพาะ

                     สำหรับจำนวนเงินค่าทดแทน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ดิน) มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย

               การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ให้พิจารณาจากราคาของตัวอสังหาริมทรัพย์ที่จะเวนคืน ซึ่งมีด้วยกัน
               3 ลักษณะราคา กล่าวคือ (1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน

               โดยราคาตลาดเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียน
               สิทธิ และนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน พ.ศ. 2530 (2) ราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่
               การเสียภาษีบำรุงท้องที่ และ (3) ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและ

               นิติกรรม นอกจากที่กล่าวมาแล้ว บทบัญญัติมาตรา 21 (5) ยังกำหนดหลักเกณฑ์อีกประการหนึ่งที่ควรจะต้อง
               นำมาพิจารณาในการกำหนดค่าทดแทน นั่นคือเรื่องเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน กล่าวคือ การเวนคืน

               แต่ละโครงการจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น โครงการสร้างสะพานพิเศษระบบทางด่วน ซึ่งเป็นโครงการ
               ที่มีลักษณะเป็นการลงทุนและหารายได้กลับคืนมา ทำให้มีเหตุอันสมควรในการที่จะสามารถเพิ่มราคาที่ดินและ
               อสังหาริมทรัพย์ได้ เพราะเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่ควรต้องเป็นผู้เสียสละเพื่อสร้างกำไรแก่การทางพิเศษ

               แห่งประเทศไทยหรือกลุ่มเอกชนผู้สัมปทาน หรือแม้แต่แค่เอกชนผู้ใช้ประโยชน์จากทางด่วน แต่ในทางตรงข้าม
               หากเป็นกรณีโครงการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวง คลองชลประทานหรือสวนสาธารณะซึ่งไม่มีรายได้กลับคืนให้

               แก่รัฐ การกำหนดค่าทดแทนย่อมสามารถปรับให้ตํ่าลงมาได้

                 2. องค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดค่าทดแทน

                     พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดองค์กรที่มีอำนาจในการกำหนด

               เงินค่าทดแทนไว้ 3 ระดับ คือ คณะกรรมการ (กำหนดราคาเบื้องต้น) รัฐมนตรี (คณะกรรมการพิจารณา









                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35