Page 31 - kpiebook62011
P. 31

27






               อุทธรณ์) และศาลยุติธรรม เป็นการเปิดโอกาสให้มีการกลั่นกรองในเรื่องของการกำหนดเงินค่าทดแทนตาม

               ลำดับถึง 3 ขั้น ดังนั้น หากจะมีข้อบกพร่องในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่เกิดจากการกระทำโดยองค์กรระดับ
               ล่าง องค์กรระดับบนก็จะมีโอกาสตรวจสอบและสั่งแก้ไขได้


                    (1) คณะกรรมการ (ในการกำหนดราคาเบื้องต้น)

                        เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการสำรวจที่ที่จะต้องเวนคืน (ในกรณีที่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขต
                        ที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน) เสร็จเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดแล้ว กฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่เสนอ

                        รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่
                        วันที่สำรวจแล้วเสร็จ ประกอบด้วยผู้แทนของเจ้าหน้าที่หนึ่งคน ผู้แทนกรมที่ดินหนึ่งคน ผู้แทนของ

                        หน่วยงานอื่นของรัฐหนึ่งคน และผู้แทนของสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และในกรณีพระราชกฤษฎีกา
                        ผ่านเขตท้องที่ใดก็ให้มีผู้แทนของสภาท้องถิ่นนั้นแห่งละหนึ่งคนเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย เพื่อทำ
                        หน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่

                        บุคคลตามมาตรา 18 (มาตรา 9) ส่วนในกรณีที่มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
                        โดยมิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา และพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้นมิได้กำหนดเรื่อง

                        เงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น ให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น
                        แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งภายใน สามสิบวันนับแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าว
                        ประกอบด้วยผู้แทนของเจ้าหน้าที่หนึ่งคน ผู้แทนกรมที่ดินหนึ่งคน ผู้แทนของหน่วยงานอื่นของรัฐ

                        หนึ่งคนและผู้แทนของสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้อง
                        เวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่บุคคลตามมาตรา 18 (มาตรา 23) คณะกรรมการชุด

                        ดังกล่าวมีหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทน
                        โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน คณะกรรมการจะขอให้รัฐมนตรีขยายเวลา
                        ออกไปอีกก็ได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าในองค์ประกอบของคณะกรรมการชุดนี้

                        กฎหมายมิได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นกรรมการว่าต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการ
                        ประเมินราคาทรัพย์สินเลย ซึ่งการประเมินราคาทรัพย์สินให้ถูกต้องตามหลักวิชานั้นจะต้องทำโดย

                        ผู้มีความรู้ความสามารถเฉพาะจริงๆ มิใช่บุคคลทั่วไปสามารถประเมินได้ ดังนั้น การที่กฎหมาย
                        ได้กำหนดผู้ที่จะมาเป็นคณะกรรมการไว้เช่นนี้อาจเป็นผลให้การประเมินราคาทรัพย์สินของ
                        คณะกรรมการดังกล่าวไม่ถูกต้องตามหลักวิชาและไม่ตรงต่อความเป็นจริงได้ กรณีจะแตกต่างไปจาก

                        ของประเทศอังกฤษที่ Lands Tribunal จะประกอบด้วยกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน
                        กฎหมาย และกรรมการผู้มีความเชี่ยวชาญในการประเมินราคาทรัพย์สิน ทำให้การกำหนด

                        ค่าทดแทนขององค์กรนี้เป็นที่ยอมรับของผู้ถูกเวนคืนมากพอสมควร ดังนั้น หากมีการแก้ไขกฎหมาย
                        ให้คณะกรรมการของไทยประกอบด้วยผู้มีคุณสมบัติที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการประเมินราคา
                        ทรัพย์สินด้วย เช่นเดียวกับกรณีของประเทศอังกฤษก็น่าจะมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น














                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36