Page 28 - kpiebook62011
P. 28
24
อสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนเป็นการแน่นอนแล้วจะมีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใน
ท้องที่ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานั้นอีกฉบับหนึ่ง เพื่อให้มีผลบังคับโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์
ของเอกชนมาเป็นของรัฐ โดยในพระราชบัญญัติเวนคืนนั้นต้องระบุ
(1) ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นที่ต้องเวนคืน
(2) รายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย
(3) แผนที่หรือแผนผังแสดงเขตอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนอย่างชัดเจนโดยให้แนบไว้ท้าย
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชบัญญัตินั้น
สำหรับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะนี้จะบัญญัติไว้เพียง
4 - 5 มาตรา เท่าที่จะพอให้รู้ว่าที่ดินที่เวนคืนแปลงใดจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์หลัก
ของพระราชบัญญัติดังกล่าวมีเพียงเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนมาเป็นของรัฐเท่านั้น ทั้งนี้ เป็นไป
ตามมาตรา 15 และมาตรา 16 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
พระราชบัญญัติในลักษณะนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า “พระราชบัญญัติเวนคืนเฉพาะ”
แผนที่หรือแผนผังแสดงเขตอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนมีความสำคัญมาก เพราะนอกจากแผนที่
ดังกล่าวจะถือเป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติเวนคืนเฉพาะแล้ว ยังมีผลต่อไปอีกว่า เฉพาะอสังหาริมทรัพย์
ภายในบริเวณแผนที่เท่านั้นที่จะถูกเวนคืน ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นคือพระราชบัญญัติเวนคืนเฉพาะบางฉบับ
นอกจากจะมีแผนที่กำหนดแนวเขตที่จะเวนคืนแล้วยังมีบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืน
แนบท้ายด้วย หากกรณีปรากฏว่ามีการระบุชื่อเอกชนคนหนึ่งอยู่ในบัญชีรายชื่อว่าที่ดินของเขาจะต้องถูกเวนคืน
โดยผิดพลาดไปโดยที่ความจริงแล้วที่ดินของเอกชนผู้นั้นมิได้อยู่ภายในแนวเขตที่ระบุไว้ในแผนที่ ดังนี้ ไม่ทำให้
ผลแห่งการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเขตที่ระบุไว้ในแผนที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ที่ดินของเอกชนผู้นั้น
ย่อมไม่ถูกเวนคืนไปด้วยเนื่องเพราะอยู่นอกเขตเวนคืน
3.5 ค่าทดแทน
1. การกำหนดค่าทดแทน
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกา
กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนแล้วเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะตกลง
ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองได้ แต่ราคาหรือค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์
ที่จะจ่ายให้ต้องไม่เกินกว่าราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนดไว้ (มาตรา 10 วรรคหนึ่ง)
หากตกลงกันได้จะมีการทำสัญญาซื้อขายกัน จากนั้นเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้
เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการแก้ไขหลักฐานทางทะเบียนในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน และกรรมสิทธิ์
ในอสังหาริมทรัพย์จะตกเป็นของรัฐในวันที่ได้มีการจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้แก่เจ้าของหรือ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530