Page 35 - kpiebook62011
P. 35

31






               ข้อ 16.3  “รัฐควรรับรองให้มีการประเมินราคาที่เป็นธรรมและการชดเชยอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ รูปแบบของ

                        การชดเชย เช่น การให้เงิน การชดเชยให้สิทธิในพื้นที่อื่น หรือทั้งให้เงินและสิทธิ”

               ข้อ 16.5  “หากที่ดิน (ไม่) จำต้องเวนคืนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของแผน รัฐควรที่จะคืนสิทธิในที่ดิน

                        ให้กับเจ้าของ ณ โอกาสแรก เพื่อสวมสิทธิเหนือที่ดินเดิมของตนต่อไป”

               ข้อ 16.6  “ทุกๆ ฝ่ายควรที่จะช่วยกันป้องกันการคอรัปชั่น โดยเฉพาะผ่านการประเมินราคาที่ต้องตาม
                        วัตถุประสงค์ มีความโปร่งใสมีขั้นตอนและบริการแบบกระจายอำนาจ ตลอดจนการอุทธรณ์”


               ข้อ 16.8  “ก่อนที่จะเวนคืนหรือเคลื่อนย้ายการใช้ที่ดินซึ่งส่งผลต่อการพรากสิทธิของปักเจกบุคคลหรือชุมชน
                        ในการเข้าถึงทรัพยากรการผลิต รัฐควรที่จะดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในทางเลือกอื่นๆ ร่วมกับ

                        การปรึกษาหารือกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยจะต้องคำนึงถึงการหลีกเลี่ยงหรือส่งผลกระทบน้อยที่สุด
                        ก่อนจะใช้มาตรการการเวนคืน”


               ข้อ 16.9  “ในแง่ของการอนุญาตให้ใช้ทรัพยากร รัฐควรที่จะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อจัดหาที่อยู่อาศัย
                        การโยกย้ายถิ่นฐานหรือการเข้าถึงที่ดินอย่างเพียงพอ”



               ที่มา: Tagliarino (2016)


               4.2 ผลการศึกษาที่จัดทำโดยสถาบันทรัพยากรโลก


                     ในปี ค.ศ. 2016 สถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute: WRI) ร่วมกับมหาวิทยาลัย
               โกรนิงเกน (University of Groningen) เนเธอร์แลนด์ เสนอผลการศึกษาเรื่อง Encroaching on Land and

               Livelihoods: How National Expropriation Laws Measure Up Against International Standards
               (Tagliarino, 2016) งานศึกษาฉบับดังกล่าวเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของ

               ประเทศต่างๆ จำนวน 30 ประเทศ  ว่ามีความสอดคล้องกับข้อ 16 ของคู่มือปฏิบัติตามความสมัครใจฯ หรือไม่
                                            2
               อย่างไร

                     เกณฑ์การพิจารณาความสอดคล้องกับข้อ 16 ของคู่มือปฏิบัติตามความสมัครใจฯ ประกอบด้วยตัวชี้วัด

               24 ตัวชี้วัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ (1) การกำหนดวัตถุประสงค์สาธารณะ (2) ข้อจำกัดเรื่องจำนวน
               และประเภทที่ดิน (3) กระบวนการเวนคืน (4) ค่าทดแทน และ (5) การฟื้นฟูและการย้ายถิ่นฐาน (โปรดดู
               ตารางที่ 2)




               
      2   ประเทศที่อยู่ในขอบเขตการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ประกอบด้วยประเทศในภูมิภาคเอเชีย 15 ประเทศ
               ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ กัมพูชา จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย คาซัคสถาน มาเลเซีย มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไต้หวัน
               ไทย และเวียดนาม และประเทศในภูมิภาคแอฟริกา 15 ประเทศ ได้แก่ บอตสวานา บูร์กินาฟาโซ เอธิโอเปีย กานา เคนยา ไลบีเรีย
               นามิเบีย ไนจีเรีย รวันดา แอฟริกาใต้ ซูดานใต้ แทนซาเนีย อูกันดา แซมเบีย และซิมบับเว








                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40