Page 40 - kpiebook62011
P. 40
36
พ.ศ. 2530 ว่า “...เพื่อกิจการใดๆ อันจำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็น
ในการป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อ
การพัฒนาการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดิน...” แต่การระบุกรณี
ปลายเปิดไว้ว่า “...หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น” ย่อมเป็นการเปิดช่องให้มีการตีความได้
กว้างขวางแตกต่างกันออกไป และทำให้กฎหมายฉบับนี้ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดนี้บางส่วนเท่านั้น
(2) ผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดินรกร้างมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าทดแทน
มาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กำหนดเงื่อนไข
บางประการให้เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือเจ้าของต้นไม้ยืนต้นสามารถได้รับเงินทดแทน
จากการเวนคืนได้ ทั้งนี้ ในมาตราดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นเจ้าของที่ดินแต่อย่างใด นอกจากนี้
ยังมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม
3
2544 เรื่องเกี่ยวกับการอนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดิน (ค่าขนย้าย) โครงการของรัฐเพื่อรองรับ
4
ในการจ่ายค่าขนย้ายให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ โดยมอบให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับ
โครงการนั้นๆ เข้าไปประสานกับคณะกรรมการพิจารณาและกำหนดราคาค่าชดเชยที่ดิน (ค่าขนย้าย)
ในระดับจังหวัดเพื่อดำเนินการเจรจาลดค่าขนย้าย ตามหลักเกณฑ์ว่าการจ่ายค่าขนย้ายสำหรับที่ดิน
ที่ไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งได้รับผลกระทบจากโครงการของรัฐ
3 คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้ 1. อนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
1.1 ให้กรมทรัพยากรน้ำนำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2553 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม
2535 มาปรับใช้ในการพิจารณาการจ่ายเงินค่าขนย้าย ค่ารื้อย้ายอาคาร บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ยืนต้น พืชล้มลุก ให้แก่ราษฎร
ผู้ถือครองที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ทั้งนี้ ให้นำหลักเกณฑ์ที่ได้รับ อนุมัติมาใช้กับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมทรัพยากรน้ำกรณีไม่มี
เอกสารสิทธิโครงการอื่นๆ ด้วย
1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาค่าขนย้าย ค่ารื้อย้ายอาคาร บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ยืนต้น พืชล้มลุก โดยมี
ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมทรัพยากรน้ำ เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจ
หน้าที่กำกับ ควบคุม และกำหนดแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับ การจ่ายเงินค่าขนย้าย ค่ารื้อย้ายอาคารฯ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการของกรมทรัพยากรน้ำ และกำหนด ราคาค่าขนย้ายฯ ให้แก่ราษฎรผู้ถือครองที่ดินโดยไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งได้รับผลกระทบ
จากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมทรัพยากรน้ำ ตลอดจนประสานงานและขอความร่วมมือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การ
ดำเนินการเกี่ยวกับจ่ายเงินค่าขนย้ายฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
4 1. เรื่องอนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดิน (ค่าขนย้าย) โครงการฝายเชียงดาว คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่คณะกรรมการกลั่น
กรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 (คกก. 5) เสนอ เรื่องขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดิน (ค่าขนย้าย) โครงการฝายเชียงดาว
ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยเห็นชอบในการจ่ายค่าขนย้ายให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ
ฝายเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 9 ราย เนื้อที่ 23 - 2 - 84.45 ไร่ โดยมอบให้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ไปประสานกับคณะกรรมการพิจารณาและกำหนดราคาค่าชดเชยที่ดิน (ค่าขนย้าย) ในระดับจังหวัดในการดำเนินการเจรจาลดค่าขนย้าย
ให้ต่ำกว่าราคาไร่ละ 105,000 บาท โดยมีหลักเกณฑ์ว่าการจ่ายค่าขนย้ายสำหรับที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
ไม่ควรใช้ราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดินในการพิจารณา แต่ให้พิจารณาจ่ายค่าชดเชยเพื่อทดแทนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ และเมื่อได้
ข้อยุติราคาค่าขนย้ายแล้วให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมรายงานผล ให้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอ
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ทราบก่อนดำเนินการต่อไปด้วย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530