Page 41 - kpiebook62011
P. 41

37






                        อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดการใช้ประโยชน์จากที่ดินไว้เฉพาะกรณีโรงเรือน

                        หรือสิ่งปลูกสร้าง หรือไม้ยืนต้น ทำให้กฎหมายฉบับนี้ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดนี้บางส่วนเท่านั้น

                    (3) ค่าทดแทนสะท้อนการปรับปรุงที่ดินนั้นๆ


                        ในกรณีที่การปรับปรุงนั้นทำให้ที่ดินมีราคาตามท้องตลาดที่สูงขึ้น มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติ
                        ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กำหนดให้การคำนวณเงินค่าทดแทนจะต้องคำนึงถึง
                        ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันบังคับ

                        ใช้พระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 ด้วย ดังนั้น กฎหมายไทยในส่วนนี้ได้รองรับการคำนวณ
                        ค่าใช้จ่ายเอาไว้แล้ว จึงไม่แน่ชัดว่า เหตุใดกฎหมายฉบับนี้จึงผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดนี้บางส่วนเท่านั้น


                     รายงานฉบับนี้สันนิษฐานว่า สาเหตุที่กฎหมายฉบับนี้ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดนี้บางส่วนเท่านั้นเกิดขึ้นเนื่องจาก
               การยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้น หรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์

               ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ. 2537 เมื่อปี 2538 ทำให้ไม่มีกฎหมายในลักษณะดังกล่าวบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน

                 2. ตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์

                    (1) ผู้ถือครองที่ดินตามจารีตที่มีสิทธิรับรองมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าทดแทน


                        ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้น ผู้ถือครอง
                        ที่ดินตามจารีตนั้นไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าทดแทน  แม้ว่าในทางปฏิบัตินั้นจะมีการพิจารณาจ่าย
                        ค่าทดแทนให้แก่ผู้ถือครองที่ดินตามจารีตในบางกรณี


                    (2) การจ่ายค่าทดแทนโดยให้ทางเลือกเป็นที่ดินอื่น


                        ตามหมวด 2 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้น กำหนดให้
                        จ่ายค่าทดแทนเป็นเงินเท่านั้น ทั้งนี้ การจ่ายค่าทดแทนโดยให้ทางเลือกเป็นที่ดินอื่นเคยปรากฏ
                        แนวคิดในเรื่องการกำหนดค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการแลกเปลี่ยนกับที่ดินที่เวนคืนมาจากเอกชน

                        สิ่งที่แลกเปลี่ยนนั้นอาจอยู่ในรูปของ

                          (ก)  เงินค่าทดแทนที่ดิน และทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับที่ดินนั้น


                          (ข)  เงินค่าชดเชยความเสียหายจากการเวนคืนที่ดิน

                          (ค)  การจัดหาที่ดินใหม่ให้เป็นการแลกเปลี่ยน และ

                          (ง)  การจัดหางานทำ การฝึกอบรมงานใหม่ (กรณีที่ต้องโยกย้ายถิ่นฐาน) 5





               
      5   สำนักกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน, การจัดทำบัญชีค่าทดแทนค่ารื้อย้ายต้นไม้และไม้ผลที่ถูกเขตชลประทาน, น. 9.
               http://kmcenter.rid.go.th/kclaw/news_ins_doc/project5.pdf









                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46