Page 42 - kpiebook62011
P. 42
38
ในกรณี (ค) นั้นเป็นกรณีที่เอกชนขอแลกเปลี่ยนที่ดินสาธารณประโยชน์ และรัฐมีความจำเป็นต้องใช้
ที่ดินของราษฎร ซึ่งเอกชนได้ตกลงกับรัฐที่จะไม่ขอรับค่าชดเชยที่ดิน แต่จะขอแลกเปลี่ยนกับที่ดิน
ของรัฐ โดยจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งปัจจุบันนี้ราชการไม่ได้จัดหาที่ดินด้วย
วิธีดังกล่าวอีกต่อไปแล้ว 6
(5) ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบสามารถเจรจาต่อรองค่าทดแทนได้
ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบสามารถเจรจาต่อรองค่าทดแทนได้ เนื่องจากมิได้มีส่วนร่วมใน
คณะกรรมการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่
เจ้าของโดยมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กำหนดให้
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง
ประกอบด้วยผู้แทนของเจ้าหน้าที่หนึ่งคน ผู้แทนกรมที่ดินหนึ่งคน ผู้แทนของหน่วยงานอื่นของรัฐ
หนึ่งคน และผู้แทนของสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะ
ต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่เจ้าของที่ดิน ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวไม่ได้มีตัวแทน
หรือเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนนั่งอยู่ในคณะกรรมการเพื่อให้ข้อมูลหรือมีส่วนในการคิดคำนวนเงิน
ค่าทดแทนแต่อย่างใด ทำให้ค่าทดแทนดังกล่าวอาจจะไม่ได้สะท้อนการเยียวยาแก่เจ้าของที่ดิน
อย่างเป็นธรรมได้
อย่างไรก็ตาม เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่พอใจค่าทดแทน สามารถอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 25 แห่ง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
6 บัญญัติ บุญมา, การเวนคืนกับการประเมินค่าทรัพย์สิน http://www.thaiappraisal.org/thai/yourarticlesnews/
your_view.php?strquery=your9.htm
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530