Page 44 - kpiebook62011
P. 44
40
เนื้อหาในส่วนนี้จะแบ่งปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกเป็นสองส่วน
ส่วนแรก กล่าวถึงปัญหาและอุปสรรคในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ทำให้ผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทน
ได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่เป็นธรรม และส่วนที่สอง กล่าวถึงปัญหาของรัฐในการนำอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืน
ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5.1 ปัญหาเกี่ยวกับค่าทดแทนที่ไม่เป็นธรรม
ปัญหาและอุปสรรคในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ทำให้ผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทนได้รับ
เงินค่าทดแทนที่ไม่เป็นธรรมนั้น มีสาเหตุจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
มีบทบัญญัติบางมาตราที่ไม่เหมาะสม เป็นอุปสรรคในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนของเจ้าหน้าที่ ทำให้
ผู้ถูกเวนคืนได้รับค่าทดแทนที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้
(1) การกำหนดโครงสร้างองค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนตามมาตรา 9 และมาตรา 23
แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่เหมาะสม ขาดบุคคลที่มีความรู้
ความชำนาญด้านกฎหมายมาร่วมทำหน้าที่สำรวจทรัพย์สินและกำหนดเงินค่าทดแทน เป็นผลให้
การกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิ์รับเงินค่าทดแทนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
และไม่มีประสิทธิภาพ
(2) บทบัญญัติมาตรา 21 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนซึ่งใช้ข้อความว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนก็เพี่อให้เกิด
ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมนั้น ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ดุลพินิจกำหนดเงินค่าทดแทน
โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐและสังคมมากกว่าความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน
(3) บทเฉพาะกาล มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และ
บทเฉพาะกาลของกฎหมายจัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกฎหมายว่าด้วยทางหลวงตาม
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ฯ และฉบับที่ 295 ฯ มีผลทำให้การกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่
ผู้ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามกฎหมายเวนคืนซึ่งถูกยกเลิกไปแลัวไม่ได้รับความ
เป็นธรรม เพราะเจ้าหน้าที่ถือว่าการกำหนดราคาทรัพย์สินและเงินค่าทดแทนที่กำหนดไว้แล้วก่อน
วันที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 จะออกให้บังคับเป็นอันใช้ได้ตาม
บทเฉพาะกาลจึงมิได้มีการพิจารณากำหนดค่าทดแทนใหม่ ทำให้ผู้ถูกเวนคืนที่ได้รับเงินค่าทดแทน
ล่าช้าได้รับความไม่เป็นธรรม เพราะราคาค่าทดแทนที่ได้รับนั้นไม่สอดคล้องกับราคาที่ดินและทรัพย์
สินที่มีการเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา ทั้งนี้ ในประเด็นดังกล่าวมีแนวคำพิพากษาตามสรุปในกรอบที่ 2-9
ดังต่อไปนี้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530