Page 48 - kpiebook62011
P. 48

44






               ถึงวัตถุประสงค์ของจำเลยเห็นได้อยู่ในตัวว่าจัดตั้งขึ้นเพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรา 6(3)

               จำเลยมีสิทธิให้เช่าซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์ในนิคมอุตสาหกรรมของจำเลยได้ นอกจากนี้มาตรา 32 และ
               มาตรา 35 บัญญัติให้ประธานกรรมการ พนักงานและลูกจ้างของจำเลยอาจได้รับโบนัสตามระเบียบที่

               คณะรัฐมนตรีกำหนด พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวข้างต้นจึงได้บัญญัติให้การกำหนด
               ราคาที่ดินต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการเวนคืนด้วย มิฉะนั้นจะเป็นช่องทางให้จำเลยแสวงกำไรจากการ
               กดราคาที่ดินที่ถูกเวนคืนเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจของจำเลย หรือเพื่อผลกำไรจะได้กลับมาสำหรับจ่ายเป็น

               โบนัสทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อสังคม การที่จำเลยนำเอาราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิ
               และนิติกรรมประการเดียวมากำหนดเป็นราคาที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจึงไม่ชอบ และที่ศาลอุทธรณ์กำหนด

               ราคาที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไร่ละ 50,000 บาทโดยพิจารณาถึงรายได้ที่จำเลยได้รับจากการให้เช่าที่ดิน
               ของโจทก์ที่ได้ไปจากการเวนคืนไร่ละ 48,000 บาท ต่อปี จึงชอบแล้ว เพราะรายได้จากทรัพย์สินกับราคาของ
               ทรัพย์สินนั้นย่อมจะต้องสัมพันธ์กัน


                        จากแนวคำพิพากษาข้างต้นได้ข้อยุติประการหนึ่งว่าในการกำหนดราคาทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นถือ

                        ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาหรือพระราชบัญญัติเวนคืนใช้บังคับแล้วแต่ว่าในการเวนคืนครั้งนั้น
                        มีการออกพระราชกฤษฎีกามาก่อนหรือไม่ ถ้ามีการออกพระราชกฤษฎีกาก่อนพระราชบัญญัติเวนคืน
                        ก็ถือเอาวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ถ้าไม่มีก็ถือเอาวันที่มีการออกพระราชบัญญัติเวนคืน

                        อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นระบบตรึงราคาทรัพย์สิน ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาหรือพระราชบัญญัติ
                        เวนคืนใช้บังคับ ส่วนการกำหนดค่าทดแทนก็เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายเวนคืนแต่ละ

                        หน่วยงานใช้อาศัยในการดำเนินการเวนคืน ระบบตรึงราคาเช่นนี้ทำให้ผู้ถูกเวนคืนที่ได้รับเงิน
                        ค่าทดแทนล่าช้าไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะจำนวนเงินค่าทดแทนที่ได้รับเท่ากับผู้ถูกเวนคืน
                        ที่ได้เงินค่าทดแทนไปก่อน


                    (4) บทบัญญัติ มาตรา 21 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “ถ้าการงานหรือกิจการอย่างใด ที่ทำไปใน
                        การเวนคืน ได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้น ให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออก

                        จากค่าทดแทน” ข้อความที่ให้มีราคาสูงขึ้นไม่เหมาะสม เพราะโดยปกติราคาที่ดินจะสูงขึ้นตามระยะ
                        เวลาอยู่แล้ว

                    (5) บทบัญญัติ มาตรา 21 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า “การคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้น

                        ตามวรรคสอง หรือลดลงตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในกฤษฎีกา”
                        ในทางปฎิบัติเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนไว้ในพระราชกฤษฎีกา การกำหนดเช่นนี้

                        ในกฎหมายเวนคืนแต่ไม่มีพระราชกฤษฎีกาที่เหมาะสมมารองรับได้กลับเป็นปัญหาและอุปสรรค
                        ในการกำหนดเงินค่าทดแทนของเจ้าหน้าที่ เจัาหน้าที่จะอ้างเป็นเหตุไม่พิจารณาในเรี่องนี้ เนื่องจาก
                        ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ทั้งนี้ ในประเด็นดังกล่าวมีแนวคำพิพากษาตามสรุป

                        ในกรอบที่ 10-13 ดังต่อไปนี้











                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53