Page 47 - kpiebook62011
P. 47
43
กรอบที่ 7 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2537 การที่โจทก์นำสืบว่า ที่ดินข้างเคียงที่ดินของโจทก์มีการซื้อขายกัน
ในราคาเท่าใดก่อนมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาก็เท่ากับว่าเป็นการนำสืบให้เห็นว่าที่ดินดังกล่าวมีราคา
เท่าใดในวันที่พระราชกฤษฎีกาประกาศใช้บังคับนั่นเอง แม้โจทก์ไม่มีราคาซื้อขายมาแสดงว่าในวันดังกล่าวที่ดิน
ของโจทก์มีราคาเท่าใด แต่โจทก์นำสืบว่าที่ดินที่มีอาณาเขตติดต่อกันมีราคาตารางวาละ 1,655 บาท และที่ดิน
ข้างเคียงตารางวาละ 1,887 บาท ย่อมฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์มีราคาตามที่ซื้อขายกันในท้องตลาดไม่ต่ำกว่า
ตารางวาละ 1,655 บาท การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แม้จะกระทำเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปก็ตาม
แต่รัฐก็มีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนเพื่อบรรเทาความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามความเหมาะสมและ
เป็นธรรมทั้งต้องปฏิบัติต่อเจ้าของที่ดินทุกคนอย่างเสมอภาคกัน
กรอบที่ 8 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2441/2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2441/2534 การกำหนดค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 14 กำหนดตามความเป็นธรรมในวันใช้
บังคับพระราชกฤษฎีกาเวนคืนต้องถือตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินเพื่อเก็บภาษีบำรุงท้องที่กับสภาพ
และทำเลของทรัพย์สินมาประกอบกัน การที่อนุญาโตตุลาการนำราคาซื้อขายที่ดินใกล้เคียงแต่อยู่คนละหน่วย
และเป็นการซื้อขายเพียงรายเดียว หลังวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเวนคืนกับนำราคาตามหนังสือของโจทก์
เป็นหลักในการพิจารณาเป็นการขัดต่อกฎหมายศาลไม่บังคับตามคำชี้ขาดนั้น
กรอบที่ 9 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2536
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2536 ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่ง
และตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ. 2527 มาตรา 5 การกำหนดราคาของ
อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืน จะต้องพิจารณาจากผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การ
เสียภาษีบำรุงท้องที่ และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประการหนึ่ง สภาพและ
ที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประการหนึ่งและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนอีกประการหนึ่ง รวม 3 ประการด้วยกัน
จำเลยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจากราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
เพียงประการเดียว ราคาดังกล่าวประเมินโดยเอาตำบล ถนน และทะเล เป็นหลัก ซึ่งเป็นการประเมินอย่าง
กว้างๆ ย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป ที่พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 5 บัญญัติให้คำนึงถึงสภาพและ
ที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ไว้ซ้ำอีก มีผลเท่ากับบังคับให้มีการพิจารณาสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่ถูกเวนคืน
เป็นแปลงๆ ไป ทั้งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 6 ที่บัญญัติ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530