Page 133 - kpiebook62009
P. 133

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


                         2.4.4 การสร้างเครือข่าย

                               จุดเริ่มต้นของ “การสร้างเครือข่าย” ถือว่ามีความสำคัญ หากกระบวนการก่อร่าง
               เครือข่ายมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และแนวทางที่ชัดเจน ดัง เสรี พงศ์พิศ (2548 : 209) ได้กล่าวถึงขั้นตอน

               การก่อตั้งเครือข่ายไว้ 8 ขั้นตอนหลักๆ เพื่อเป็นเครือข่ายที่ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน สนับสนุน

               ชุมชนเข้มแข็ง และสามารถเป็นกลุ่ม องค์กรที่ร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายได้ ควรมีการดำเนินการจัดตั้ง ดังนี้
                               (1)  ร่างเป้าประสงค์ (purpose) ให้ชัดเจน เพื่อให้ทราบสาเหตุความเป็นมาของการก่อตั้ง

               เครือข่าย

                               (2)  บอกเป้าหมาย (goals) และวัตถุประสงค์ (objectives)
                               (3)  กำหนดแผนการดำเนินงาน (action plan)

                               (4)  กำหนดกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐาน

                               (5)  กำหนดกระบวนการในการตัดสินใจ
                               (6)  เตรียมแผนการสื่อสารระหว่างสมาชิก

                               (7)  เลือกโครงสร้างการจัดการองค์กร

                               (8)  จัดหาทุนในการดำเนินงาน
                               เมื่อเครือข่ายเกิดขึ้น “กระบวนการทำงานของเครือข่าย” เป็นภาพของการเคลื่อนไหว

               ตามสถานการณ์และเป้าหมายของเครือข่ายนั้นๆ โดยแบ่งเป็น 4 ประเด็น (พระมหาอุทิตย์ อาภากโร,

               2547, น. 97-103) ดังนี้
                               ประเด็นที่ 1 กระบวนการทำงานที่เชื่อมประสานจากจุดเล็กและขยายไปสู่หน่วยใหญ่

               เป็นขั้นตอนของการก่อตัวและกระบวนการทำงาน ซึ่งเครือข่ายที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็งนั้น

               มาจากการทำงานที่ไม่มองข้ามจุเล็ก โดยเริ่มต้นจากการทำงานในสิ่งที่รู้และเข้าใจ เป็นผลให้การทำงานของ
               เครือข่ายมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ชุมชน ถือเป็นกระบวนการทำงานที่ควบคู่ทั้งในระดับพื้นที่และ

               สานต่อไปในระดับนโยบาย แบ่งเป็นช่วงระยะสำคัญ ได้แก่

                               (1)  ระยะก่อตัวเครือข่าย เพื่อหาแนวร่วม ค้นหาแกนนำ ผู้มีอุดมการณ์เดียวกัน และการ
               สื่อสารที่เหมาะสม

                               (2)  ระยะขยายตัว วิธีการประสานความร่วมมือ กำหนดกิจกรรมที่เหมาะสมกับระดับ

               ความสัมพันธ์ รวมทั้งการหาความรู้ใหม่ เทคนิคใหม่ ในการพัฒนาเครือข่าย
                               (3)  ระยะการเคลื่อนไหวทางสังคมหรือการจัดกิจกรรม จะต้องมีความพร้อม ทั้งข้อมูล

               ทุน การจัดการ และแนวร่วมที่หลากหลาย เพื่อให้การทำงานมีความต่อเนื่อง

                               (4)  ระยะการรักษาพันธกรณีของเครือข่าย เป็นการรักษาความสัมพันธ์และการสื่อสารที่
               เป็นระบบ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบใหม่และเป็นเครือข่ายที่มีความยั่งยืน









                                                          92
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138