Page 137 - kpiebook62009
P. 137

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


               กระตุ้นสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายและทำให้เครือข่ายดำรงอยู่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้เครือข่ายเหล่านั้น

               เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างสูงสุด
                         2.4.5 คุณสมบัติของเครือข่ายที่พึงประสงค์

                               เสรี พงศ์พิศ (2548, น. 212-213) กล่าวถึง คุณสมบัติของเครือข่ายองค์กรชุมชนที่มี

               ความยั่งยืน ไว้ดังนี้
                               (1)  เครือข่ายมี “การเรียนรู้ร่วมกัน” องค์กรชุมชนแต่ละองค์กรมีฐานความรู้ จึงต้องมี

               การเรียนรู้แลกเปลี่ยนกัน เช่น มีการศึกษาดูงาน เวทีเสวนา การฝึกอบรมร่วมกัน ฯลฯ ซึ่งการเรียนรู้ต้องมี

               ความต่อเนื่อง และทำให้สมาชิกชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกัน มิใช่เพียงผู้นำเท่านั้น
                               (2)  เครือข่ายมี “การแบ่งปันทรัพยากร” มีการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนทรัพยากร เป็น

               การแสดงออกถึงความเป็นเครือข่ายที่ต้องการเอื้ออาทรต่อกัน พัฒนาไปสู่การแลกเปลี่ยนผลผลิต ที่จะ

               พัฒนาเครือข่ายให้มีความยั่งยืน
                               (3)  เครือข่ายมี “การทำกิจกรรมร่วม” เป็นการสร้างกิจกรรม/โครงการร่วม ลงทุนร่วม

               เพื่อให้เครือข่ายได้ทำงานร่วมกัน การลงทุนดังกล่าวเป็นการเกิดของวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นระบบ

               การจัดการเศรษฐกิจชุมชน ในลักษณะของเครือข่ายทางเศรษฐกิจที่จะสำเร็จได้โดยอาศัยเครือข่ายทาง
               สังคม ที่ไม่ใช่ในรูปของเงินอย่างเดียวแต่หมายรวมถึงผลประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น ผลผลิต การพิทักษ์

               สิทธิผลประโยชน์ร่วมกัน การดูแลซึ่งกันและกัน ฯลฯ เพราะเครือข่ายทางสังคม คือ จุดแข็งของระบบ

               เศรษฐกิจชุมชน
                               (4)  เครือข่ายมี “ความรู้สึกถึงความเป็นพี่น้อง” เกิดความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ

               เครือข่าย ที่ทำให้อยากทำกิจกรรมร่วมกัน อยากช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งปัจจัยข้อนี้เป็นผลทำให้เครือข่ายดำรง

               อยู่ ทั้งนี้เนื่องจากมีรากฐานของภูมิปัญญาที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องพึ่งพา
               อาศัยกันเป็นวิถีชุมชน ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นธรรมชาติของความเป็น “เครือข่าย” ที่มนุษย์มีเป็นฐาน

               ของชีวิต

                               สิ่งที่เกิดขึ้นจาก “การเป็นเครือข่าย”
                               การรวมตัวกันเป็นเครือข่าย หากเครือข่ายนั้นๆ ดำเนินการเพื่อเป้าหมายในการพัฒนา

               มนุษย์ ชุมชน และสังคม ผลที่จะเกิดขึ้น คือ

                               เสรี พงศ์พิศ (2548, น. 202) กล่าวถึง ประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นเครือข่าย คือ
                               - ก่อให้เกิดผลบางอย่างที่ใครคนเดียวทำให้เกิดไม่ได้

                               - ทำการรณรงค์ได้กว้างกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า

                               - ส่งอิทธิพลต่อคนอื่นในเครือข่ายและนอกเครือข่าย
                               -  ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องหรือประเด็นหนึ่ง หรือการต่อสู้หนึ่งชัดเจนมากยิ่งขึ้น

               เพราะมีแง่มุมหลายแง่มองจากหลายคนหลายองค์กร






                                                          96
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142