Page 138 - kpiebook62009
P. 138
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
- ร่วมมือกันทำ แบ่งงานกันทำ
- ลดงานที่ซ้ำซ้อนลง และลดการสิ้นเปลืองทรัพยากร
- ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ แรงบันดาลใจและทักษะต่างๆ
- ทำให้เกิดความสามัคคี ให้กำลังใจกัน และช่วยกันในรูปแบบต่างๆ ในบางกรณีช่วยให้
สามารถระดมทุนได้ดี
และ ผลสัมฤทธิ์ของความเป็นเครือข่าย (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, 2547, น. 106-
108) ที่ควรจะเกิดขึ้น ได้แก่ (1) เกิดกระบวนการเรียนรู้ (2) การเพิ่มโอกาสในการแก้ไขปัญหา (3) เกิด
การพึ่งตนเอง (4) เกิดการจัดการทรัพยากร (5) เกิดกระบวนการผลักดันเชิงนโยบาย และ(6) เกิดอำนาจ
หรือพลัง โดยเฉพาะพลังที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงร่วมกัน
2.4.6 กรอบตัวชี้วัดด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม
จากกรอบแนวคิดทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างสันติสุขและ
ความสมานฉันท์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คณะผู้วิจัยได้นำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดตัวชี้วัดขั้นพัฒนา
(Performance Indicators) ส่วนตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน (Audit Indicator) มาจากภารกิจที่องค์การปกครอง
ส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่มีระเบียบ กฎหมายกำหนด โดยมีการจัดทำกรอบตัวชี้วัด
เพื่อใช้ประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์กร
บริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล และเมืองพัทยา ใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน ดังต่อไปนี้
ตารางที่ 2.4
ตัวชี้วัดด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
ภารกิจ อำนาจหน้าที่ และตัวชี้วัด ตัวชี้วัด ตัวชี้วัด
ขั้นพื้นฐาน ขั้นพัฒนา
หมวด 1 ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน : ภารกิจที่ต้องทำตามระเบียบ
1. อปท. มีการแต่งตั้งผู้แทนกลุ่ม/องค์กรต่างๆ ในระดับจังหวัด/ชุมชนหรือ ✓
หมู่บ้าน/ตำบล เป็นคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และมีการจัดประชุม
คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
2. อปท. มีการแต่งตั้งผู้แทนกลุ่ม/องค์กรต่างๆ ในระดับจังหวัด/ชุมชนหรือ ✓
หมู่บ้าน/ตำบล เป็นคณะกรรมการสนับสนุนแผนพัฒนาท้องถิ่น และมี
การจัดประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการแผนฯ
3. อปท. มีการแต่งตั้งผู้แทนกลุ่ม/องค์กรต่างๆ ในระดับจังหวัด/ชุมชนหรือ ✓
หมู่บ้าน/ตำบล เป็นคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
และจัดประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนฯ
97