Page 136 - kpiebook62009
P. 136
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
อาจมีทั้งเครือข่ายในระดับพื้นที่ ครอบคลุมระดับจังหวัด และภูมิภาค และเครือข่ายเชิงประเด็นทำงาน
เฉพาะด้าน เช่น กลุ่มฮักเมืองแพร่ ฯลฯ
(3) ระดับการส่งเสริม/การให้คำปรึกษา (ทีมหนุน) ได้แก่ เครือข่ายขององค์กร สถาบัน
และหน่วยงานหลักทางสังคมที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนกระบวนการพัฒนาและพัฒนาเป็นเครือข่าย
ซึ่งการกำหนดบทบาทหน้าที่ของเครือข่ายให้ชัดเจนจะทำให้การดำเนินกิจกรรมของ
เครือข่ายในรูปแบบและระดับต่างๆ นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ทั้งนี้การให้เครือข่ายยังคงดำรงอยู่ “กระบวนการเสริมสร้างเครือข่าย” เพื่อการพัฒนานั้น
ถือว่ามีความสำคัญยิ่ง โดยมีหลักการที่เกี่ยวข้อง 3 ประการ (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, 2547, น. 55-58)
ได้แก่
ประการแรก “สถานการณ์ปัญหาและสภาพแวดล้อม” เมื่อสถานการณ์ปัญหามี
ความซ้ำซ้อน หลากหลาย และขยายตัว เกินความสามารถของกลุ่มหรือองค์กรจะดำเนินการได้ จำเป็นต้อง
รวมพลังหรือมีกลไกในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการเสริมสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิด
พลังในการจัดการกับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น
ประการสอง “การสร้างพื้นที่ทางสังคม” เครือข่ายเป็นเครื่องมือและยุทธศาสตร์ที่
สำคัญอันก่อให้เกิดการสร้างพื้นที่ทางสังคมอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับของการเปลี่ยนแปลงเชิงปัจเจก
จนถึงการเสริมสร้างพลังกลุ่มองค์กร สู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย หรือนำไปสู่พลังการเปลี่ยนแปลงชุมชน
สังคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเสริมสร้างเครือข่ายให้เป็นพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในมิติของวิธีคิด
ชุดความรู้ การใช้ทรัพยากร ศักยภาพของกลุ่มองค์กรเพื่อการพัฒนา โดยการเสริมสร้างเครือข่ายให้เป็น
พื้นที่ทางสังคมและใช้พื้นที่นั้นในการดำเนินกิจกรรมด้วยตนเอง หรือทำให้เป็นพื้นที่ของพลังอำนาจใน
การเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การสร้างพื้นที่ทางสังคมจึงเป็น กระบวนการเพิ่มพูน สร้างอัตลักษณ์ของเครือข่าย
ให้มีความชัดเจนในพลังอำนาจของประชาชน
และประการสาม “การประสานผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม” การได้รับประโยชน์
จากการเข้าร่วมเป็นเครือข่าย กระตุ้นให้เกิดเครือข่ายและเกิดการรักษาพันธกรณีร่วมกันระหว่างเครือข่าย
รวมทั้งเกิดปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดกระบวนการพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การประสานประโยชน์
อย่างเท่าเทียม จะทำให้เกิดกระบวนการรักษาผลประโยชน์ร่วมกันที่มาจากฐานของความรู้สึกมีส่วนร่วม
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เครือข่ายนั้นมีความยั่งยืนมั่นคง
ดังนั้น เครือข่ายมีวงจรในการดำรงอยู่ โดยสรุป “วงจรของเครือข่าย” (พระมหาสุทิตย์
อาภากโร, 2547, น. 114-115) วงจรชีวิตของเครือข่ายแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นตระหนักและ
การก่อตัวของเครือข่าย (2) ขั้นการสร้างพันธกรณีและการบริหารเครือข่าย (3) ขั้นการพัฒนาความสัมพันธ์
และการใช้ประโยชน์ และ (4) ขั้นการรักษาความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ อปท. ต้องมี
กระบวนการวางแผนในการค้นหา สร้าง สนับสนุน และพัฒนาให้เครือข่ายประชาสังคมทั้งที่มีอยู่แล้ว หรือ
กำลังดำเนินการรวมกลุ่มเครือข่าย ตลอดจนยังไม่มีการรวมตัวเป็นเครือข่าย จำเป็นอย่างยิ่งที่ อปท. จะต้อง
95