Page 131 - kpiebook62009
P. 131

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


               ซึ่งกระบวนการดังกล่าว จะทำให้สมาชิกเครือข่ายเกิดการรับรู้ เกิดการยอมรับในกระบวนการทำงาน และ

               รักษาสัมพันธภาพอันดีต่อกัน
                               องค์ประกอบที่น่าสนใจ (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ อ้างใน พระมหาสุทิตย์ อาภากโร,

               2547, น. 51-52) 7 องค์ประกอบ ได้แก่

                               (1)  การรับรู้มุมมองร่วมกัน (Common perception)
                               (2)  การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Common vision)

                               (3)  การมีผลประโยชน์และความสนใจร่วมกัน (Mutual interests/benefits)

                               (4)  การมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายอย่างกว้างขวาง (All stakeholders’ participation)
                               (5)  กระบวนการเสริมสร้างซึ่งกันและกัน (Complementary relationship)

                               (6)  การพึ่งอิงร่วมกัน (Interdependence)

                               (7)  การปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน (Interaction)
                               นอกจากนี้ ผลสรุปจากการสัมมนาองค์ความรู้และการจัดการเครือข่ายโครงการ

               เสริมสร้างการเรียนรู้ชุมชนเป็นสุข (2546, อ้างถึงใน พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, 2547, น. 53) ได้ให้

               องค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก “เครือข่ายต้องมีความเท่าเทียมของฝ่ายต่างๆ”
               กล่าวคือ บุคคลและกลุ่มบุคคลที่เข้ามาเป็นเครือข่ายจะต้องยึดหลักการนี้ โดยให้โอกาสในการเรียนรู้

               การสร้างพื้นที่ทางสังคมให้เกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำร่วมกัน และพยายามหลีกเลี่ยงการครอบงำจาก

               ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เครือข่ายมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และประการที่สอง “การให้ผลประโยชน์ต่าง
               ตอบแทน” เป็นการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกัน โดยมิได้หมายถึงเพียงการให้เงิน

               แต่หมายรวมถึง ความเอื้ออาทรต่อกัน ตอบแทนความรู้สึกถึงความพึงพอใจ การได้รับการยอมรับ ฯลฯ

                         2.4.3 รูปแบบของเครือข่าย
                               รูปแบบของเครือข่ายมีพัฒนาการและมีความหลากหลายที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์

               ทางสังคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมาชิก พื้นที่ บริบทแวดล้อม ที่มาของการจัดตั้งเครือข่าย วัตถุประสงค์ และโครงสร้าง

               ในการดำเนินเครือข่าย ดังเช่น
                               เสรี พงศ์พิศ (2548, น. 198-120) ได้กล่าวถึง ประเภทของเครือข่าย ดังนี้

                               (1)  เครือข่ายแนวราบ โดยการประสานบุคคลที่อยู่ในระดับเดียวกัน ให้มาเชื่อมประสาน

               เป็นเครือข่าย เช่น เครือข่ายนักพัฒนา เครือข่ายนักวิจัย เครือข่ายภาคเกษตรกรรม เป็นต้น หรืออาจเป็น
               ปัจเจกหรืออาจเป็นสถาบันก็ได้ เช่น เครือข่ายสถาบันวิจัย เครือข่ายศูนย์ข้อมูล เป็นต้น หรืออาจเป็น

               เครือข่ายสำหรับบุคคลทั่วไป สถาบันทั่วไป ที่สนใจในประเด็นเดียวกัน

                               (2)  เครือข่ายแนวตั้ง เป็นเครือข่ายที่มาจากบุคคลหลากหลาย มาจากกลุ่ม หรืออาชีพที่
               แตกต่างกันมารวมกันเป็นเครือข่ายเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือกันโดยเน้นที่

               การให้ข้อมูลข่าวสารมากกว่า การดำเนินกิจกรรมร่วมกัน มีความเท่าเทียมในฐานะสมาชิกเครือข่าย






                                                          90
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136