Page 130 - kpiebook62009
P. 130

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


                            2.4.2 องค์ประกอบ “เครือข่าย”

                                  ลักษณะเฉพาะของเครือข่าย (เสรี พงศ์พิศ, 2548, น. 201) คือ
                                  (1)  เป็นกลุ่มองค์กรและ/หรือบุคคลที่มาร่วมกัน เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์และ

                  ความสนใจที่ตั้งขึ้นร่วมกัน

                                  (2)  เป็นเวทีเพื่อกิจกรรมทางสังคมโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
                                  (3)  ดำรงอยู่ได้ยาวนาน (ไม่ใช่เฉพาะกิจ) ด้วยการสื่อสารแบบใดแบบหนึ่งที่ต่อเนื่อง

                                  (4)  มีความรู้สึกผูกพันกับโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นมาร่วมกัน และร่วมกันรับผิดชอบ

                                  (5)  มีฐานอยู่ที่ความเป็นเจ้าของร่วมกันและความมุ่งมั่นที่จะทำตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
                  ร่วมกัน รวมทั้งเครื่องมือหรือวิธีการในการดำเนินการที่คิดไว้ร่วมกัน

                                  จุดร่วมสำคัญของเครือข่าย 5 ประการ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ (พระมหาสุทิตย์

                  อาภากโร, 2547) ได้แก่
                                  (1)  หน่วยชีวิตหรือสมาชิก เป็นองค์ประกอบหลักที่ก่อให้เกิดเครือข่าย ที่จะดำเนินการ

                  สานต่อเพื่อหาแนวร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดการดำรงอยู่ร่วมกัน พึ่งพาอาศัยและ

                  สร้างกระบวนการสืบเนื่องเพื่อรักษาความเป็นชีวิต
                                  (2)  จุดมุ่งหมาย เป็นหลักที่สะท้อนถึงการร่วมตัวกันในฐานะเครือข่าย หากการรวมตัว

                  ไม่มีจุดหมายร่วม จะไม่ถือเป็นเครือข่าย เพราะ ความเป็นเครือข่าย หมายถึง การร่วมกันอย่างมีจุดหมาย

                                  (3)  การทำหน้าที่อย่างมีจิตสำนึก เป็นองค์ประกอบที่จะยึดโยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน
                  เพราะหากขาดจิตสำนึกต่อส่วนรวมที่มาจากใจ กระบวนการนั้นจะเป็นเพียงเครือข่ายจัดตั้งและเรียกร้องหา

                  ผลประโยชน์ตอบแทนเท่านั้น ดังนั้น สำคัญคือการต้องมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม ทั้งนี้จะเป็นแรงขับทาง

                  ภายใน ที่ส่งผลต่อขบวนการรวมเครือข่ายอย่างมีแนวร่วมอุดมการณ์ เพื่อสร้างพลังในแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                  ต่อรอง พิทักษ์สิทธิ จนกลายเป็นเครือข่ายที่มีความไว้วาใจต่อกัน

                                  (4)  การมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยน เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ เพราะ “การมี

                  ส่วนร่วม” เป็นปัจจัยหนุนเสริมให้เครือข่ายมีพลังมากขึ้น และสร้างความรู้สึกถึงความเป็นส่วนหนึ่งของ
                  เครือข่าย ในขณะเดียวกัน “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้” จะนำไปสู่การให้และการรับ รวมถึงการระดม

                  ทรัพยากรเพื่อให้ภารกิจบรรลุถึงเป้าหมาย ฉะนั้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงเป็นทั้งแนวคิด กระบวนการ

                  และวิธีการจัดการเครือข่าย หมายรวมถึงเป็นกระบวนการสร้างข้อมูลที่ต่อเนื่อง (การจัดการความรู้ร่วม)
                  ดังนั้น การมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสมือนเป็นกลไกผลักให้ความเป็นเครือข่ายมีการดำเนินไป

                  อย่างต่อเนื่อง

                                  (5)  ระบบความสัมพันธ์และการสื่อสาร หากเครือข่ายมีนัยยะที่เกี่ยวข้องกับ
                  ความสัมพันธ์ที่โยงใย ระบบดังกล่าวถือว่าเป็นความสำคัญ ที่ต้องมีการสื่อสารตั้งแต่ระดับปัจเจกกับ

                  ปัจเจกกลุ่มกับกลุ่ม และเครือข่ายกับเครือข่าย รวมทั้งระบบความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้







                                                             89
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135