Page 129 - kpiebook62009
P. 129

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


                         2.4.1 ความหมายของ “เครือข่าย” (network)

                               ความหมายของเครือข่าย มีนัยยะที่สะท้อนมิติเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ
               สังคม ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นเครือข่ายโดยธรรมชาติของวิถีชีวิต เช่น ครอบครัว เครือข่าย การเป็น

               สมาชิกชุมชนฯลฯ หรือความสัมพันธ์ที่ถูกจัดสร้างขึ้น เช่น เครือข่ายกลุ่มอาชีพ เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์

               ฯลฯ เหล่านี้เพื่อให้มนุษย์ได้รับการตอบสนองความต้องการ ซึ่งมีนักวิชาการที่ได้ให้ความหมายไว้
               อย่างหลากหลาย เช่น

                               เสรี พงศ์พิศ (2548, น. 12-14) ให้ความหมายว่า เครือข่าย เป็นความสัมพันธ์ ระหว่าง

               คน ระหว่างกลุ่มองค์กร ที่เชื่อมร้อย “ความเป็นชุมชน” เป็นความสัมพันธ์ที่อยู่ในชีวิตและจิตใจของผู้คน
                               พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (2547, น. 6-7) กล่าวว่า เครือข่ายเป็นความสัมพันธ์ที่

               เชื่อมโยงเป็นข่ายซึ่งมีความหมายในหลายมิติ อาจหมายถึง การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หรือ โครงข่าย

               ของระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ หรือระบบเทคโนโลยี ซึ่งมีนัยยะของการโยงใยเป็นโครงข่ายที่มี
               ความต่อเนื่อง โดยเป็นทั้งโครงข่ายที่มีการกำหนดแบบแผนและมีการกำหนดแบบแผนแห่งความสัมพันธ์ไว้

               รวมทั้งมีขนาดและรูปแบบความสัมพันธ์/การเชื่อมโยงที่แตกต่างหลากหลาย

                               นอกจากนี้ ยังได้ให้นัยยะของเครือข่าย ที่เป็นเครือข่ายพัฒนา ในมิติของ “เครือข่ายทาง
               สังคม” ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์ที่ปฏิสังสรรค์กันอย่างเป็น “เครือข่าย” ไว้ 3 นัยยะ

               กล่าวคือ

                               (1)  เครือข่ายเป็นคำที่นำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในฐานะความสัมพันธ์
               ที่โยงใย นับตั้งแต่ปัจเจกบุคคลไปจนถึงความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อน

                               (2)  เครือข่ายเป็นคำที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคมและ

               ยุทธศาสตร์การพัฒนา
                               (3)  เครือข่ายเป็นคำที่อธิบายถึงแบบแผนพฤติกรรมทางสังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับ

               ปัจเจกและสังคมในการที่จะดำเนินกิจกรรมความสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฯลฯ

               กับฝ่ายต่างๆ เพื่อให้เกิดกระบวนการตามเหตุและปัจจัย
                               ซึ่งเมื่อกล่าวถึง เครือข่ายทางสังคม จึงมีนัยยะเดียวกับเครือข่าย ในฐานะความสัมพันธ์

               ระหว่างมนุษย์กับสังคม ภายใต้โครงสร้างทางสังคมทั้งในมิติด้านสังคม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ

               และ วัฒนธรรม มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันและมีผลต่อกันและกัน
                               เครือข่ายเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรมที่ทำให้ประชาชน

               และสังคมมีพลังในการเปลี่ยนแปลง โดยมีปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ (1) กระบวนการเรียนรู้ (2) นวัตกรรม

               และ (3) เครือข่ายและประชาสังคม









                                                          88
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134