Page 132 - kpiebook62009
P. 132

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


                                  นอกจากนี้ (3) เครือข่ายรวมตัวกันเพื่อวัตถุประสงค์เชิงปฏิบัติการร่วมกัน เช่น

                                  -  เครือข่ายเพื่อการสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และประสบการณ์ ส่วนใหญ่เครือข่าย
                  เกิดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว และอาจนำไปสู่พลังต่อรองอำนาจต่างๆ ทำให้ได้รับความสนใจและ

                  ความช่วยเหลือง่ายขึ้น
                                  -  เครือข่ายเพื่อความร่วมมือด้านงานวิจัย การศึกษา การฝึกอบรม การจัดการทรัพยากร

                  การจัดการตลาด
                                  -  เครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากร

                                  -  เครือข่ายรวมตัวเพื่อการกดดันทางการเมือง รณรงค์เพื่อให้สังคมเกิดสำนึกในเรื่องใด
                  เรื่องหนึ่ง เช่น ป่าชุมชน การสร้างเขื่อน เป็นต้น

                                  บางเครือข่ายมีวัตถุประสงค์หลากหลาย เช่น นอกจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
                  ยังมีความร่วมมือในทางปฏิบัติอีกหลายเรื่อง เช่น ทำวิจัยร่วมกัน ฝึกอบรมร่วมกัน ดำเนินกิจกรรมบางอย่าง

                  เพื่อส่วนรวมร่วมกัน
                                  พระมหาอุทิตย์ อาภากโร (2547, น. 84-97) แบ่งรูปแบบตามการประยุกต์ใช้เครือข่าย

                  ในการเสริมสร้างการเรียนรู้ เป็น 3 ประเภท ได้แก่
                                  ประเภทแรก “เครือข่ายเชิงพื้นที่” เป็นการรวมตัวของกลุ่ม องค์กร เครือข่ายที่อาศัยอยู่

                  ในพื้นที่ดำเนินกิจกรรมเป็นปัจจัยหลักในการทำงานร่วมกัน เป็นการพัฒนาโดยอาศัยกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน
                  พื้นที่เป็นเป้าหมายนำทาง โดยยึดเอาพื้นที่เป็นที่ตั้งแห่งความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน เช่น การแบ่ง

                  เครือข่ายตามพื้นที่การปกครอง หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ฯลฯ หรือ การแบ่งเครือข่ายตามพื้นที่ของ
                  ทรัพยากรธรรมชาติ เครือข่ายอ่าวลุ่มแม่น้ำวัง เครือข่ายอนุรักษ์แก่งเสือเต้น ฯลฯ

                                  ประเภทสอง “เครือข่ายเชิงประเด็น” เป็นเครือข่ายที่ใช้สถานการณ์หรือประเด็น
                  กิจกรรม เป็นปัจจัยในการรวมเครือข่าย ซึ่งจะมุ่งเน้นในการจัดการกับสถานการณ์นั้นๆ ที่เกิดขึ้นอย่าง

                  จริงจัง และพัฒนาความร่วมมือให้เกิดขึ้นกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดการจัดการและการแก้ไขสถานการณ์
                  นั้นๆ เช่น เครือข่ายเลิกเหล้า: ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก เครือข่ายป้องกันยาเสพติด เครือข่าย

                  อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เครือข่ายสุขภาพ เครือข่ายป่าชุมชน เป็นต้น
                                  ประเภทสาม “เครือข่ายแบ่งตามโครงสร้างหน้าที่” เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นบนฐานของ

                  การมีนโยบาย ภารกิจ โครงการ/กิจกรรมร่วมกัน และก่อตัวในรูปของผลประโยชน์ร่วม ซึ่งอาจเป็น
                  เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานภายใต้กรอบแนวคิด หลักการ

                  วัตถุประสงค์และเป้าหมายของหน่วยงานหรือโครงสร้างที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน
                                  ซึ่งรูปแบบการรวมตัวเป็นเครือข่ายในการดำเนินการภารกิจขององค์กรปกครองส่วน

                  ท้องถิ่น (อปท.) ที่จะทำให้การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นบนฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่าง
                  แท้จริง สิ่งสำคัญ คือ “การเป็นเครือข่ายเพื่อพัฒนา” หรือเป็น “เครือข่ายทางสังคม” (พระมหาอุทิตย์

                  อาภากโร, 2547 : 6) โดยจะปรากฏภาพการรวมตัวของเครือข่ายทั้งในลักษณะของเครือข่ายเชิงพื้นที่
                  เครือข่ายเชิงประเด็นและเครือข่ายตามโครงสร้าง อปท. มักมีบทบาททั้งในฐานะผู้ก่อตั้งเครือข่าย ประสาน

                  เครือข่าย สนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายให้เกิดความต่อเนื่อง เข้มแข็งและยั่งยืน




                                                             91
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137