Page 124 - kpiebook62009
P. 124

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


                                  (3)  ความรุนแรงทำให้สังคมมองไม่เห็นทางเลือกทางการเมือง เพราะผู้คนในสังคมจะตก

                  อยู่ในผลทางอารมณ์ความรู้สึกที่ความรุนแรงก่อให้เกิดขึ้น จนยากที่จะอาศัยภูมิปัญญาหาหนทางการเมือง
                  เพื่อแก้ไขปัญหา

                                  ประเวศ วะสี (2545, น. 5-7)  ได้กล่าวถึง ข้อควรคำนึงในการจัดการความขัดแย้ง ใน

                  การสัมมนาในหัวข้อ “ทิศทางการจัดการความขัดแย้งของสังคมไทย วิพากษ์ประชาพิจารณ์ สร้างสาน
                  ทางเลือกใหม่” ที่ต้องคำนึงถึงเป็นข้อควรระวัง

                                  ประการแรก ความสับสนระหว่างประชาพิจารณ์กับ Conflict resolution กล่าวคือ

                  การทำประชาพิจารณ์ ทำก่อนตัดสินใจ โดยมิใช่เป็นไปเพื่อเกิดเหตุความขัดแย้ง แล้วทำประชาพิจารณ์
                  เพื่อการจัดการสถานการณ์นั้นๆ ในขณะที่ conflict resolution เป็นผลพวงของการตัดสินใจแล้วเกิด

                  ความขัดแย้งขึ้น และแก้ความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ดังนั้น ประชาพิจารณ์จึงไม่ใช่วิธีการในการจัดการ

                  ความขัดแย้ง
                                  ประการสอง วัฒนธรรมอำนาจที่เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อ การจัดการความขัดแย้งโดย

                  สันติวิธี กล่าวคือ วัฒนธรรมอำนาจ บดบังคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

                  ทางสังคม ความไม่เท่าเทียม การกระจายผลประโยชน์ไม่เท่าเทียม ดังนั้น ฐานศีลธรรมพื้นฐานที่สำคัญ คือ
                  การเคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกันอย่างชอบธรรม

                                  ประการสาม การขาดความเข้าใจและความจริงใจในหลักการของการแก้ความขัดแย้งเชิง

                  โครงสร้าง กล่าวคือ หลักการคือการมีส่วนร่วม ต้องมีการใช้ความจริงหรือใช้ขอ้อมูลที่เป็นจริง ใช้หลักการ
                  เสมอภาค

                                  ประการสี่ ขาดความเชื่อถือได้ของความรู้ ซึ่งความรู้ถือเป็นฐานที่สำคัญในการสร้างสังคม

                  ที่รู้จริง เข้าใจวิถีจริง เปิดเผย ยอมรับ ฉะนั้น ต้องปรับสร้างสังคมจากสังคมวัฒนธรรม เป็นสังคมความรู้
                                  ประการห้า ความไม่ไว้วางใจผู้ผลักดันโครงการ เป็นเรื่องของความโปร่งใสในการอยู่

                  ร่วมกัน กล่าวคือ การอยู่ร่วมกันยืนอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใส จริงใจ ไม่ทุจริตวิถีชีวิตสังคม

                  ความไว้วางใจก็จะตามมา ทั้งนี้เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน การกระจายผลประโยชน์
                  ที่เท่าเทียม

                                  ประการหก ความเป็นกลางของผู้รับฟัง ถือเป็นข้อที่ควรคำนึง ทั้งนี้จะทำให้กระบวนการ

                  จัดการความขัดแย้งบนฐานสันติวิธี และชอบธรรมในการตัดสิน การสร้างกระบวนการที่เป็นกลาง
                                  และ ประการเจ็ด กรอบ กติกา กระบวนการ จะต้องมีการวางระบบไว้อย่างเหมาะสม

                  และเห็นชอบร่วมกันในการปฏิบัติ ทั้งนี้จะต้องมีการทำความเข้าใจชัดเจน เพื่อให้กระบวนการจัดการ

                  ความขัดแย้งเป็นไปอย่างเป็นกลาง
                            2.3.4 ตัวชี้วัด “การเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์”

                                  จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างสันติสุขและสมานฉันท์ เป็น

                  กระบวนการทั้งฐานแนวคิด ยุทธศาสตร์ กลวิธี วิธีการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถทำ




                                                             83
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129