Page 120 - kpiebook62009
P. 120
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
2.3 แนวคิดว่าด้วยการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์
2.3.1 ที่มาของการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์
ที่มาของแนวคิดที่ว่าด้วยเรื่อง “กระบวนการสร้างเสริมสันติสุขและสมานฉันท์” มาจาก
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม ที่ยึดโยงไว้เรื่องของอำนาจ และความไร้อำนาจ
ที่ไม่เท่าเทียมกัน นำมาซึ่ง “ความขัดแย้ง” ทั้งหลายอันเนื่องมาจากความไม่เท่าเทียมกันของอำนาจ
การใช้อำนาจ และกดทับอำนาจ ที่ทำให้มนุษย์ผู้ไร้อำนาจถูกกีดกั้นทางสังคมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งระดับของ
ความรุนแรงเป็นแรงผลักดันให้เกิดกระบวนการจัดการความขัดแย้ง
ทฤษฎี “ความขัดแย้ง” (เดชา ตั้งสีฟ้า, 2550, น. 3) ถูกกล่าวไว้ในฐานะทั้งเป็น
“ผู้ทำลายและผู้สร้าง” คือ อาจก่อให้เกิดอันตราย เพราะอาจลุกลามเป็นความรุนแรง แต่ความขัดแย้งก็ถือ
เป็นปรากฏการณ์ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมใหม่
ความขัดแย้งมาจากปัญหาความสัมพันธ์ ค่านิยมที่แตกต่างกัน ปัญหาด้านข้อมูลและ
การสื่อสาร ปัญหาด้านโครงสร้างที่มีระบบการจัดการที่ไม่ทั่วถึง การกระจายผลประโยชน์และการตอบสนอง
ความต้องการที่ไม่เท่าเทียม (มูฮัมหมัดรอฟีอี มูซอ, 2549, น. 10-11) โดยมี ระดับของความขัดแย้ง
(วันชัย วัฒนศัพท์, ผู้แปล, 2545 : 5-6 อ้างถึงใน มูฮัมหมัดรอฟีอี มูซอ, 2549, น. 10 ) ได้แก่
(1) ความขัดแย้งซ่อนเร้น (latent conflicts) เป็นความขัดแย้งที่มีอยู่แต่ยังไม่เกิดเต็ม
ที่ และยังไม่แบ่งแยกอย่างชัดเจน อาจยังไม่ตระหนักว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น
(2) ความขัดแย้งเริ่มปรากฏ (emerging conflicts) เป็นความขัดแย้งที่กำลังจะปรากฏ
ออกมา เริ่มเห็นว่ามีคู่กรณี มีการระบุข้อพิพาท แต่กระบวนการร่วมมือเพื่อให้เกิดการต่อรองยังไม่เกิดขึ้น
(3) ความขัดแย้งที่ปรากฏ (manifest conflicts) เป็นความขัดแย้งที่มีคู่พิพาทและ
มีการตอบโต้กันอย่างชัดเจน โดยอาจจะมีกระบวนการที่เข้าไปจัดการกับกรณีพิพาท
ซึ่งมีระดับความสัมพันธ์ของความขัดแย้ง ได้แก่ ความขัดแย้งในตัวตน ความขัดแย้ง
ระหว่างบุคคลกับบุคคล ความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับชุมชน ความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับรัฐ และ
ความขัดแย้งของกฎหมาย โดยระดับความสัมพันธ์ของความขัดแย้งแต่ละระดับจะนำไปสู่ความรุนแรงทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับกระบวนการหรือความสามารถในการจัดการเพื่อการสลายผลความขัดแย้ง
และเมื่อกล่าวถึง “วงจรความขัดแย้ง” จุดเริ่มต้นมาจากความเป้าหมาย วัตถุประสงค์
ระบบคิด หรือผลพวงจากการกระจายทรัพยากรไม่เป็นธรรม และมีความแตกต่างกัน ความตระหนักรู้ถึง
ความขัดแย้งนำไปสู่การปรากฏชัดของความขัดแย้ง ที่มีระดับความขัดแย้งและความสัมพันธ์ของ
ความขัดแย้งที่แตกต่างกัน เป็นภาวะของการเร่งความขัดแย้ง ฉะนั้น กระบวนการที่ตามมาคือ “การจัดการ
ความขัดแย้ง” ซึ่งหากกระบวนการจัดการความขัดแย้งเชิงสันติวิธี ความขัดแย้งก็จะยุติลง ที่นำไปสู่
การเปลี่ยนแปลงที่ดี แต่หากความขัดแย้งยังสลายไม่ได้ ก็จะเข้าสู่วงจรความขัดแย้งใหม่ ฉะนั้น
กระบวนการจัดการความขัดแย้งสำคัญ คือ “การเสริมสร้างสันติสุขและสมานฉันท์” ดังภาพ
79