Page 122 - kpiebook62009
P. 122
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
การกระจายอำนาจ การกระจายผลประโยชน์ ให้คุณค่าและลดช่องว่างทางสังคม
ดังแผนภาพแสดงการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี
กล่าวโดยสรุปถึง ที่มาของแนวคิดการสร้างเสริมสันติสุขและสมานฉันท์ มาจากภาวะของ
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม ที่ต้องมีกระบวนการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ เพี่อลด ป้องกัน
และ เฝ้าระวังมิให้เกิดความขัดแย้งนั้นนำไปสู่ความรุนแรงทางสังคมที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์และสังคม
2.3.2 ความหมายเกี่ยวกับสันติสุขและความสมานฉันท์
การเสริมสร้างสันติสุขและสมานฉันท์ในสังคมไทย ณ ปัจจุบัน มักมองผ่าน
“กระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์” ในฐานะฐานคิดของการจัดการความรุนแรง (ความไม่เท่าเทียม)
กระบวนการ และวิธีการที่จะนำไปสู่การลดความขัดแย้งและความรุนแรง ซึ่งมีนักคิด นักวิชาการที่ได้ให้
ความหมาย ดังเช่น โทนี มาสแชล (อ้างถึงใน ณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์, 2550, น. 5) นักวิชาการแห่งสหราช
อาณาจักร ได้ให้ความหมาย “กระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์ หมายถึง กระบวนการซึ่งคู่ขัดแย้งทุกฝ่ายที่
เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดมาพบกัน เพื่อร่วมกันแก้ไขว่าจะจัดการอย่างไรกับการกระกระทำความผิดที่ได้
เกิดขึ้นและสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
กระบวนวิธีเชิงสมานฉันท์ (restorative process) หมายถึง กระบวนการใดๆ ตามที่
ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในฐานะผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำ ผู้ได้รับผลกระทบทั้งโดยตรง โดยอ้อม และ
สมาชิกในชุมชน รวมถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แสดงกความกระตือรือร้นที่จะรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหา
ความขัดแย้ง ความรุนแรง หรืออาชญากรรมที่เกิดขึ้น โดยได้รับความช่วยเหลืออย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาค
ส่วน โดยเฉพาะฝ่ายที่สามที่มีความเป็นกลางเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการความขัดแย้งแบบสันติวิธี ใน
รูปแบบสันติสุข เช่น คณะกรรมการไกล่เกลี่ย (มูฮัมหมัดรอฟีอี มูซอ, 2549, น. 28)
2.3.3 แนวทางการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์
รายงานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) (2549, น. 59-99) ได้
ให้ข้อเสนอสมานฉันท์สำหรับคนไทย สำคัญดังนี้
กรอบแรก “การแก้ปัญหาจะเน้นความมั่นคงของมนุษย์และสันติวิธี” หมายความว่า
จะใช้มาตรการทางการเมืองและการพัฒนาเป็นสำคัญ มิใช่มาตรการในการปราบปราม ทั้งนี้โดยให้
ความสำคัญกับวิธีการสานเสวนาเพื่อให้มีความเข้าใจกัน ทุ่มเทหัวใจปกป้องคุ้มครองกันและกันด้วยสันติวิธี
ซึ่งการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงนั้นจะต้องใช้วิธีการเชิงสันติสุขและสมานฉันท์ โดยต้อง
เข้าถึงสันติวิธีที่จะต้องเข้าใจสิ่งต่อไปนี้ (1) ความรุนแรงไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ (2) ความรุนแรงไม่สามารถ
สร้างสรรค์สายสัมพันธ์ที่เข้มแข็งทั้งรัฐและประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเองขึ้นมาได้ และ
(3) คนส่วนใหญ่ที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงล้วนเป็นพลเมืองไทยด้วยกัน รัฐและสังคมไทยจึงควรถือว่าสันติ
วิธีเป็นทางเลือกหลักเพื่อแก้ปัญหา
กรอบสอง “การแก้ปัญหาจะเน้นแนวทางสมานฉันท์ 9 ประการ” ดังนี้
81