Page 123 - kpiebook62009
P. 123

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


                               (1)  การเปิดเผยความจริง ถือเป็นทั้งเครื่องมือและเป้าหมายของการสร้างสังคม

               สมานฉันท์ ซึ่งความจริงเป็นหนทางคลี่คลายปัญหาความเคลือบแคลงหวาดระแวงไม่เชื่อใจ เพื่อเป็นฐาน
               การธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ความรับผิกชอบ และการให้อภัย

                               (2)  ความยุติธรรม ให้ความสำคัญกับความยุติธรรมในทุกระดับ คือ ชั้นบุคคล โครงสร้าง

               และวัฒนธรรม โดยมุ่งแยก “ความผิด” ออกจาก “คนผิด” ซึ่งถือเป็นเหยื่อของความรุนแรงทั้งสิ้น และใช้
               กระบวนการยุติธรรมที่มีความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติในการแก้ปัญหาความรุนแรง

                               (3)  ความพร้อมรับผิด ส่งเสริมระบบและวัฒนธรรมความพร้อมรับผิดเกิดขึ้น โดยยึด

               หลักเมตตาธรรม ความถูกต้องชอบธรรม และความโปร่งใส
                               (4)  การให้อภัย โดยทุกฝ่ายต้องตระหนักถึงคุณค่าชีวิต ทั้งในฐานะผู้ให้อภัยและผู้ได้รับ

               การอภัย อีกทั้งตระหนักถึงผลกระทบของเหยื่อความรุนแรงในทุกมิติ

                               (5)  การเสวนาระหว่างกัน โดยพร้อมรับฟัง เปิดใจกว้าง แลกเปลี่ยนความเห็นบนฐาน
               ของการมีขันติธรรม ความยึดมั่นในความเป็นพี่น้อง และความเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรม

               วิธีชีวิต ความเชื่อ

                               (6)  สันติวิธี เป็นทางเลือกหลักเมื่อเผชิญปัญหาความขัดแย้ง ยึดมั่นในแนวทางศาสนา
               และวัฒนธรรมของตนเอง รวมถึงปฏิเสธการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา

                               (7)  ความทรงจำ เปิดพื้นที่ให้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพิ่มเติม จากพื้นที่ประวัติศาสตร์

               ส่วนกลาง เสริมสร้างการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความแตกต่างของกันและกัน
               มากขึ้น

                               (8)  การใช้จินตนาการในการแก้ปัญหา ไม่ยึดติดกับวิธีการเดิมๆ ในการแก้ไขปัญหา

               พร้อมที่จะใช้จินตนาการบนพื้นฐานศาสนธรรมเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมของ
               ภาคประชาชน คือ “รากฐานของการสร้างความสมานฉันท์และสันติสุข”

                               (9)  การยอมรับความเสี่ยงใดๆ ที่อาจเกิดร่วมกัน การแสวงหาทางออกจากปัญหาที่

               ยั่งยืนอาจมีความเสี่ยง หรือผลที่คาดไม่ถึงหลายประการ การยอมรับความเสี่ยงหมายถึง ความไว้วางใจ
               ความเชื่อมั่นที่ประชาชนในพื้นที่มีต่อกัน รวมถึงความกล้าในการยอมรับความเสี่ยงนั้น

                               ซึ่งในการแก้ปัญหาความรุนแรง สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึง เพื่อให้เกิดแนวทางใน

               การสร้างเสริมสันติสุขและสมานฉันท์ คือ การตระหนักรู้ถึงผลกระทบจากความรุนแรง 3 ประการ ได้แก่
                               (1)  ความรุนแรงบดบังเสียงร้องของผู้ได้รับทุกข์ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงนั้นเอง

               โดยเฉพาะบุตร ภรรยา ญาติมิตรที่รักใคร่พึ่งพาอาศัยเหยื่อเหล่านี้

                               (2)  ความรุนแรงบดบังไม่ให้มองเห็นสาเหตุเชิงโครงสร้างในสังคมที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง











                                                          82
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128