Page 230 - kpiebook62008
P. 230

๑๙๙

                       การตรากฎหมายภาษีไทยของรัฐสภามักให้อำนาจฝ่ายบริหารในการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งสามารถที่

               จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางภาษีที่สำคัญจนทำให้ฝ่ายบริหารสามารถกำหนดเนื้อหาของกฎหมายภาษีได้เอง

               จึงเกิดปัญหาว่าฝ่ายบริหารอาจกำหนดเนื้อหาหลักของกฎหมายภาษีได้ซึ่งขัดต่อหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี

               คณะผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการบัญญัติกฎหมายภาษีไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ทั้งนี้เนื่องจาก

               ความเป็นกฎหมายสูงสุดย่อมถูกแก้ไขได้ยาก และการที่ฝ่ายบริหารจะออกกฎหมายลำดับรองมาขัดหรือแย้งก็

               ย่อมจะกระทำมิได้ โดยจะใช้วิธีการบัญญัติจำกัดอำนาจของฝ่ายบริหารไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยการกำหนดขอบเขต


               ของภาษีในเรื่องนั้น ๆ และตีความบังคับใช้โดยเคร่งครัด


                              ๕.๓ การเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีระหว่างกระบวนการจัดเก็บภาษี


                       การใช้หนังสือตอบข้อหารือ: ควรมีกฎหมายออกมาให้อำนาจหน่วยงานใด ๆ ให้มีอำนาจตอบข้อหารือได้

               และให้หนังสือตอบข้อหารือดังกล่าวมีผลผูกพันทั้งกรมสรรพากรเองและตัวผู้เสียภาษีด้วย



                       การกำหนดสิทธิของผู้เสียภาษีไว้เป็นการเฉพาะในกฎหมายภาษี เนื่องจากประมวลรัษฎากรได้กำหนด
               บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียภาษีไว้ในกฎหมายลำดับรอง อีกทั้งในบางกรณีก็มิได้บัญญัติไว้จนทำให้ต้องมีการ


               ปรับใช้จากพระราชบัญญัติอื่น เช่น พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงแสดงให้เห็นถึง

               ความไม่ชัดเจนในสิทธิของผู้เสียภาษี มีผลให้ผู้เสียภาษีไม่ทราบว่าตนมีสิทธิอะไรบ้าง หรือทราบแล้วแต่ไม่ทราบ

               วิธีการบังคับตามสิทธิหรือทราบช้า และยังก่อให้เกิดความซ้บซ้อนและความไม่แน่นอนในการใช้บังคับกฎหมายของ

               เจ้าหน้าที่อีกด้วย ในการนี้จึงควรมีการบัญญัติถึงสิทธิของผู้เสียภาษี รวมถึงกระบวนการในการจัดเก็บภาษีแต่ละ

               ประเภทไว้ในกฎหมายภาษีประเภทนั้น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากสิทธิและกระบวนการของภาษีแต่ละประเภทอาจแตกต่าง

               กัน จึงควรบัญญัติแยกไว้สำหรับภาษีประเภทนั้น ๆ


                       องค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เนื่องจากองค์กรตรวจสอบการประเมินในปัจจุบันเป็น

               หน่วยงานราชการ จึงอาจไม่มีความเป็นกลางและอาจวินิจฉัยโดยเข้าข้างกรมสรรพากรซึ่งเป็นภาครัฐเช่นเดียวกัน

               จึงควรตั้งหน่วยงานเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษีโดยเฉพาะให้ทำหน้าที่ตรวจสอบดังกล่าวซึ่งจะมีความ

               เป็นกลางมากกว่า
   225   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235