Page 229 - kpiebook62008
P. 229
๑๙๘
(๒) การประเมินภาษี ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ทางเจ้าหน้าที่จะทำการ
ตรวจสอบตามแบบฯดังกล่าว หากมีความน่าสงสัยว่าไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะขอตรวจสอบเพิ่มเติม โดยอาจขอ
เอกสารเพิ่มเติมหรือเข้าตรวจสอบบัญชีของผู้เสียภาษีได้ หากพบว่ายื่นแบบฯไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะทำการ
ประเมินภาษีให้ซึ่งหากผู้เสียภาษีเห็นว่าการประเมินดังกล่าวไม่ชอบก็มีสิทธิโต้แย้งคัดค้านได้โดยการอุทธรณ์ต่อ
คณะกรรมการทางปกครองภาษีอากรซึ่งจะเป็นสหวิชาชีพเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษี ให้เข้ามาช่วย
ประเมินภาษี (จึงมีความเป็นกลางในการเข้ามาประเมินได้มากกว่าของไทยซึ่งองค์กรที่ผู้เสียภาษีมีสิทธิอุทธรณ์ต่อก็
ยังคงเป็นหน่วยงานของรัฐ) หรือนำคดีขึ้นสู่ศาล
(๓) การควบคุมตรวจสอบการใช้เงินภาษี สาธารณรัฐฝรั่งเศสจะใช้ระบบงบประมาณ 2 ขา ซึ่งในการผ่าน
ร่างงบประมาณก็จะต้องมีการนำเสนอทั้งแผนรายรับและรายจ่ายเพื่อให้สภาฯ อนุมัติหรือแก้ไขปรับปรุงให้มีความ
สมดุลเหมาะสมกันได้ นอกจากนี้ยังมีศาลบัญชีซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบสถานะการใช้เงินภาษีของรัฐบาลว่าเป็นไป
ตามงบประมาณหรือไม่ โดยศาลบัญชีนี้เป็นองค์กรอิสระจากรัฐบาลและรัฐสภา
๕. แนวทางการแก้ไขปัญหา: การสร้างสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีในประเทศไทย
๕.๑ การจัดทำนโยบายภาษีเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษี
ในปัจจุบัน อำนาจในการกำหนดนโยบายทางภาษีของไทยเป็นอำนาจของส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งมีทั้ง
หน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญและไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี จึงจำเป็นต้องจัดตั้งองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ภาษีอากรให้มีหน้าที่ให้คำปรึกษารัฐบาลเฉพาะเรื่องภาษี และมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายภาษีเพื่อให้ได้นโยบาย
ภาษีที่มีคุณภาพ
๕.๒ การกำหนดหลักเกณฑ์การตรากฎหมายภาษีไว้เป็นการเฉพาะ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มิได้กำหนดสิทธิของผู้เสียภาษีไว้เป็นการเฉพาะ
โดยตรง วิธีการตรากฎหมายภาษีจึงต้องใช้วิธีการตราเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติซึ่งตราโดยรัฐสภา (ซึ่งเมื่อ
เปรียบเทียบกับกฎหมายภาษีของต่างประเทศแล้วจะพบว่ามีการบัญญัติอำนาจการตรากฎหมายภาษีไว้ใน
รัฐธรรมนูญทั้งหมด)