Page 234 - kpiebook62008
P. 234

๒๐๓

                       กล่าวโดยสรุป การใช้ระบบงบประมาณสองขาจึงมีข้อดีคือควบคุมนโยบายได้ แต่ก็มีข้อเสียคือทำให้ระบบ

               ภาษีมีความซับซ้อนมากขึ้น แม้ระบบงบประมาณสองขาจะเป็นระบบที่เป็น Ideal แต่ก็มองว่าการนำมาใช้กับ

               ประเทศไทยเลยนั้นจะนำมาซึ่งภาระพอสมควร นอกจากนี้ในระบบสองขานี้หากรัฐเก็บภาษีไม่ได้ตามเป้าก็จะต้องมี

               การออกกฎหมายงบประมาณที่เป็นบทแก้ไขเพิ่มเติม ในขณะเดียวกันหากเป็นระบบขาเดียวการจัดเก็บรายรับนั้น

               มิได้เคร่งครัดตามเป้ามากนักจึงไม่มีความจำเป็นต้องออกกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมงบประมาณ



                       (๓) ข้อเสนอเพิ่มเติม


                       เนื่องจากอาจารย์เห็นว่าการนำระบบงบประมาณสองขามาใช้กับประเทศไทยในตอนนี้อาจจะไม่เหมาะสม

               เราอาจจะใช้วิธิการกำหนดเงื่อนไขบางอย่างในการดำเนินนโยบายทางภาษี เช่น


                       การกำหนดระบบเรื่อง Sunset Cross ซึ่งหมายถึงระบบที่จะกำหนดให้มาตรฐานนั้น ๆ ต้องมีระยะเวลา

               สิ้นสุดตายตัว เช่น นโยบายทางด้าน BOI ก็จะกำหนดว่าจะให้ BOI แค่ ๕ ปี หลังจาก ๕ ปีไปจะไม่มี BOI นี้อีก แต่


               หากจำเป็นที่จะต้องนำกลับมาก็จะต้องนำมาพิจารณาใหม่


                       การกำหนดให้เป็นระบบที่ต้องมีการ Review ซึ่งแม้ในปัจจุบันกฎหมายจะเขียนไว้อยู่แล้วในมาตรา ๓๒

               ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง แต่ก็เป็นการบัญญัติที่ยังคงมีปัญหา กล่าวคือ กฎหมายบัญญัติว่า “ใน

               กรณีที่เรามีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายทางภาษีซึ่งนำไปสู่การลด การยกเว้นภาษีอากร จะต้องมีการทำ

               รายงานจากขาดรายได้จากการนั้น แต่ให้ทำต่อผู้มีอำนาจ” ซึ่งเขียนไว้แตกต่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

               ไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งบอกให้รายงานต่อ “สภา” เนื่องจากถือว่าเป็นเอกสารประกอบงบประมาณ ในขณะที่

               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ นั้นมิได้พูดถึงเลยแต่มาโยงไว้ที่พระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่ง

               ก็มีปัญหาว่า ผู้มีอำนาจ หมายถึงใคร ซึ่งอาจจะไม่ใช่สภาก็ได้เนื่องจากเป็นการดำเนินนโยบายทางภาษีโดยการใช้

               กฎหมายลำดับรอง ผู้มีอำนาจในการอนุมัติกฎหมายลำดับรองจึงไม่ใช่สภาแน่นอน (ซึ่งในส่วนนี้อาจารย์มองว่า

               จะต้อง Report ต่อสภาและให้สภา Review ไม่ใช่หน่วยงานอื่น จึงควรไปแก้ไขในมาตรา ๓๒ ให้ระบุชัดเจนว่าให้

               Report ต่อสภาไม่ใช่เขียนเพียงว่าผู้มีอำนาจ)



                       ยกตัวอย่างกรณีกฎหมายภาษีมีการกระทบสิทธิของผู้เสียภาษีโดยที่ไม่มีการบัญญัติถึงสิทธิของผู้เสียภาษี

               ในกรณีนั้นไว้เลย คือ ในเรื่องของ พระราชบัญญัติศุลกากรที่ล่าสุดมีการแก้ไขกฎหมาย แต่ยังไม่มีการแก้ไขในส่วน

               ของอำนาจอธิบดีในการจ่ายเงินสินบนนำจับ โดยสภาพถ้าเรามองว่าภาษีคือการใช้อำนาจมหาชนอย่างหนึ่ง รัฐก็
   229   230   231   232   233   234   235   236   237