Page 232 - kpiebook62008
P. 232
๒๐๑
ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ร่วมการเสวนา
ข้อเสนอแนะจากรองศาสตราจารย์ ดร.สุปรียา แก้วละเอียด
(๑) การกำหนดหลักเกณฑ์การตรากฎหมายภาษีไว้เป็นการเฉพาะ
ปัญหาของประเทศไทยในการกำหนดกฎหมายภาษีจะมีการเปิดช่องค่อนข้างมากให้หน่วยงานอื่นมาออก
กฎหมายรอง โดยจะมีการออกกฑหมายรองใน ๒ ลักษณะอันได้แก่ การออกในเรื่องอำนาจจัดเก็บภาษี และเรื่อง
Tax Incentive ซึ่งกรณีนี้เกิดปัญหาในการกระทบสิทธิอยู่มาก เช่น
พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก ๒๕๕๘ ก็จะให้อำนาจในการจัดเก็บภาษี ในขณะเดียวกันก็เปิดช่องให้
กรมจัดเก็บมีอำนาจในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีทะเบียนแต่มีความจำเป็นจะต้องจัดเก็บ กรมฯก็มี
อำนาจที่จะออกกฎกระทรวงมารับรองการจัดเก็บได้ อย่างไรก็ดี มันก็เป็นการเปิดช่องทำให้ผู้เสียภาษีไม่สามารถรู้
ได้ว่า ในอนาคตนั้นทรัพย์สินตัวนั้นจะมีอะไรบ้าง จะถูกจัดเก็บอย่างไรหรือไม่ จึงเป็นการให้อำนาจในการออก
กฎหมายลำดับรองซึ่งมีการกระทบสิทธิค่อนข้างชัดเจน
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่กระทบไม่ชัดเจน เช่น ในกรณีมาตรา ๓ และมาตรา ๔ ของประมวลรัษฎากรที่ให้
อำนาจในการออกกฎกระทรวงหรือพระราชกฤษฎีกาในเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ก็จะเป็นลักษณะที่ให้
ฝ่ายบริหารมาให้ Tax Incentive แก่ผู้เสียภาษี ซึ่งโดยสภาพของการให้ Tax Incentive ย่อมจัดเป็น Tax
Expenditure ซึ่งจะก่อให้เกิดการขาดรายได้ในอนาคตแล้วนำมาสู่การจัดเก็บภาษีต่อไปในท้ายที่สุด จึงมีปัญหาว่า
อาจเกิดความไม่เป็นธรรมต่อประชาชนส่วนรวม อย่างไรก็ตามเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า Tax Incentive เป็นสิ่งที่จำเป็น
ในการกำหนดนโยบายภาษีของรัฐบาล
ดังนั้นการเปิดช่องให้รัฐบาลได้กำหนดกฎเกณฑ์บางประการในแง่ของภาษีบ้างก็ทำให้การบริหารประเทศ
สะดวกขึ้น แต่ก็ไม่ต้องเปิดช่องหรือให้ดุลพินิจกว้างเกินไป ควรจะมีการกำหนดขอบเขตบางประการให้มีความ
ชัดเจนมากขึ้น เช่น ตัวอย่างปัญหาในเรื่องภาษีการรับมรดก ๒๕๕๘ ที่ได้กล่าวไป ก็อาจจะต้องมีการกำหนดขอบ
อำนาจให้ชัดเจนมากขึ้น