Page 233 - kpiebook62008
P. 233

๒๐๒

                       (๒) การใช้ระบบงบประมาณสองขา


                       แม้ในอดีตประเทศไทยได้เคยนำระบบงบประมาณสองขามาใช้ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดีในชั้น

               ของทางอนุกรรมาธิการในการเสนองบประมาณสองขานี้ยังคงมีข้อดีและข้อเสีย



                       หากพูดถึง Power to Tax กับ Power to spend ย่อมเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาทั้งคู่ แต่

               ในระบบของประเทศไทยเราใช้ระบบงบประมาณขาเดียวซึ่งในพระราชบัญญัติงบประมาณจะแสดงแต่เฉพาะ

               รายจ่าย แต่ตัวรายได้หรือการกู้เป็นเพียงเอกสารประกอบ ในการโหวตจึงจะโหวตเฉพาะรายจ่ายเท่านั้น ในขณะที่

               รายได้หรือภาษีเราไม่ได้ทำการโหวต โดยประมาลรัษฎากรจะเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจเก็บภาษีโดยให้ครั้งเดียวและ

               อยู่ตลอด


                       สำหรับในระบบงบประมาณสองขาจะเป็นกรณีที่พระราชบัญญัติงบประมาณจะแสดงทั้งรายรับและ

               รายจ่าย ในการโหวตก็จะมีการโหวตทั้งรายรับและรายจ่าย ในทำการโหวตแบบ annual vote หมายความว่าหาก


               เรานำระบบงบประมาณสองขามาใช้ ประมาวลรัษฎากรจะเป็นเพียงแค่โครงสร้างภาษีเท่านั้น แต่กฎหมายที่ให้
               อำนาจในการเก็บภาษีจริง ๆ จะคือตัวงบประมาณ



                       ข้อดีของระบบงบประมาณสองขาคือ สภาจะสามารถควบคุมนโยบายทางภาษีได้ ในกรณีที่เห็นว่าการ

               กำหนดรายรับและรายจ่ายไม่เหมาะสม เช่น กรณีที่เห็นว่า Shopping Tax ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง

               หรือกรณีของ BOI ไม่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้แม้ได้เริ่มต้นมานานแล้ว ก็จะสามารถควบคุมพวก

               นโยบายทางภาษีดังกล่าวได้


                       ข้อเสียของระบบงบประมาณสองขาคือ เป็นระบบที่สร้างความซับซ้อนในอีกรูปแบบหนึ่งของระบบภาษี

               เช่น ในการแก้ไขระบบงบประมาณ ๒๕๖๓ (สมมติว่าปีหน้าเรากำลังจะใช้ระบบงบประมาณสองขา) สภาแก้

               บทบัญญัติทางฝั่งรายรับ โดยเเฉพาะหากแก้ในเรื่องของ Tax จะมีผลเป็นการแก้ไขประมวลรัษฎากรโดยอัตโนมัติ


               หมายความว่าหากเราจะต้องเปิดอ่านประมวลรัษฎากร เราจะต้องเปิดอ่านในเวอร์ชั่นที่อัพเดท ต้องดูว่า
               งบประมาณปีนี้แก้ไขอะไรบ้าง เนื่องจากทั้งงบประมาณและประมวลรัษฎากรมีลำดับศักดิ์ทางกฎหมายเท่ากัน คือ


               เป็นพระราชบัญญัติ จึงย่อมจะแก้ไขกันได้ จึงทำให้ประมาวลรัษฎากรจะเป็นเพียงแค่โครงสร้างภาษีเท่านั้น แต่

               กฎหมายที่ให้อำนาจในการเก็บภาษีจริง ๆ จะคือตัวงบประมาณประจำปี
   228   229   230   231   232   233   234   235   236   237