Page 225 - kpiebook62008
P. 225
๑๙๔
๒. ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง
๒.๑ การตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษี
หลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี การตรากฎหมายต้องกระทำโดยผ่านทางผู้แทนของประชาชน
กฎหมายที่พิจารณาผ่านผู้แทนแล้วย่อมถือว่าได้รับความยินยอมจากประชาชนแล้ว อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษี
จะต้องกระทำตามกรอบที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เท่านั้น
หลักความเสมอภาคทางภาษี รัฐต้องปฏิบัติต่อบุคคลโดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่ง
ความแตกต่างของแต่ละบุคคล จะสามารถกำหนดให้แตกต่างกันตามแต่ละบุคคลได้สำหรับกรณีที่มีสาระสำคัญ
หรือพฤติการณ์ที่แตกต่างกันเท่านั้น ในแง่ของภาษีอากรนั้นบทบัญญัติกฎหมายจึงต้องคำนึงถึงความสามารถใน
การเสียภาษีของผู้เสียภาษี เช่น บุคคลที่มีความสามารถในการเสียภาษีมากกว่าก็ต้องรับภาระทางด้านภาษีมากกว่า
หลักการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีระหว่างกระบวนการจัดเก็บภาษี ได้แก่ หลักความได้สัดส่วน
กล่าวคือ มาตรการทางกฎหมายนั้นจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เป็นวิธีการที่กระทบกระเทือนสิทธิ
ของประชาชนน้อยที่สุด และสามารถบังคับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่มหาชนยิ่งกว่าความเสียหายจากการถูกจำกัดสิทธิ
เสรีภาพของประชาชน อีกทั้งการประเมินภาษีต้องกระทำโดยโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และมีการเปิดโอกาสให้
สามารถโต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษีอากรได้
หลักการตรวจสอบการจัดเก็บภาษีและการใช้เงินภาษี การจัดเก็บภาษีและการใช้เงินภาษีจำเป็นต้อง
ได้รับการตรวจสอบจากองค์กรต่าง ๆ อาทิ รัฐสภา องค์กรตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น
๓. สถานะการสร้างสมดุลระหว่างสิทธิและหน้าที่ของผู้เสียภาษีในไทยในปัจจุบัน
การตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษี แม้กฎหมายภาษีอากรจะได้มีการบัญญัติถึงสิทธิของผู้เสียภาษีแต่ก็ยัง
ไม่มีความชัดเจนแน่นอน ก่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้น สำหรับ
ตัวอย่างสิทธิของผู้เสียภาษีที่มีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เช่น กรณี
กำหนดให้การตรากฎหมายภาษีจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ
และการตรวจสอบความชอบของกฎหมายสามารถตรวจสอบได้โดยองค์กรตุลาการ