Page 151 - kpiebook62005
P. 151
ด้วยความตื่นตัวในระดับโลกและภูมิภาค ท าให้หน่วยงานรัฐไทยโดยกรมควบคุมมลพิษได้ออก
มาตรการตรวจวัดฝุ่น pm 2.5 เป็นครั งแรกในปี 2544 แต่ก็เป็นเพียงการตรวจในบางจุดเท่านั น จนต่อมาในปี
2547 กรมควบคุมมลพิษได้ว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษาและเสนอมาตรฐานความปลอดภัยของฝุ่น
pm 2.5 โดยผลวิจัยเสนอว่า ค่ามาตรฐานที่ควรเป็นคือ ค่าเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
และค่าเฉลี่ย 24 ชม.อยู่ที่ 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ต่อมาในปี 2553 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
7
ออกประกาศฉบับที่ 23 ก าหนดค่ามาตรฐาน 24 ชม.อยู่ที่ 50 ไมโครกรัมฯ และค่ารายปีอยู่ที่ 25 ไมโครกรัมฯ
การด าเนินการของไทยในช่วงเวลานั น ยังไม่ได้มีความชัดเจนถึงผลกระทบของฝุ่น pm 2.5 ต่อสุขภาพ
จนเมื่อองค์การอนามัยโลกประกาศเมื่อปี 2544 ให้ฝุ่น pm 2.5 เป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็ง จนต่อมาในปี 2548
องค์การอนามัยโลกก็ได้ก าหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศเพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์กลางของทุกประเทศ ไว้ที่
ค่าเฉลี่ยราย 24 ชม.ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีที่ 10 ไมโครกรัมฯ โดยชี ว่า “ไม่มี
ระดับปริมาณสารมลพิษระดับใดที่ถือได้ว่าปลอดภัยสาหรับทุกคน”
แต่กรมควบคุมมลพิษ มองว่า การก าหนดมาตรฐานดังกล่าวต้องสอดคล้องกับความเป็นไปได้ของ
เทคโนโลยี รวมถึงสภาพสังคม เศรษฐกิจ ของประเทศ ดังนั นในปี 2553 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึง
ออกประกาศฉบับที่ 23 ก าหนดมาตรฐานฝุ่น PM2.5 โดยค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมงจะต้องไม่เกิน 50
8
ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ปี จะต้องไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งต่ า
กว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก และต่ ากว่าข้อเสนอของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แม้องค์การอนามัยโลกจะเตือนถึงผลกระทบดังกล่าว และกรมควบคุมมลพิษก็ได้เริ่มตรวจวัด พร้อม
กับศึกษาเพื่อก าหนดมาตรฐาน แต่ข้อมูลข่าวสารเรื่องสาเหตุ ที่มา ผลกระทบของฝุ่น pm 2.5 ยังไม่ได้เป็นที่
รับรู้แก่สาธารณชนเท่าใดนัก โดยเมื่อสถานการณ์ฝุ่นเริ่มปรากฏผลกระทบในภาคใต้ ต่อมาก็เกิดในภาคเหนือ
ซึ่งยังห่างไกลจากการรับรู้และตื่นตัวของคนกรุงเทพฯ ท าให้เรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นประเด็นสาธารณะเท่าใดนัก
ท าให้ประเด็นปัญหาเรื่องการก าหนดค่ามาตรฐาน
7 จริยา เสนพงศ์ สิทธิการเข้าถึงข้อมูลมลพิษทางอากาศ กรีนพีชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น าเสนอในวันที่ 19 มิถุนายน 2562
8 Work point news คพ.ยัน ค่ามาตรฐาน PM 2.5 ที่ไทยใช้เป็นมาตรฐานของ WHO ที่อิงตามบริบทสังคมไทย 27 มกราคม
2562 https://workpointnews.com/2019/01/27/%E0%B8%84%E0%B8%9E-
%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99-
%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%
E0%B8%B2%E0%B8%99-pm-2-5-
%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/
-124-