Page 154 - kpiebook62005
P. 154

หนทางที่ง่ายที่สุดที่จะการจัดการทัศนคติที่คลาดเคลื่อนก็คือ การท าฐานข้อมูลจุดฮอตสปอตที่สัมพันธ์

               กับพื นที่อย่างเจาะจง ข้อมูลทิศทางลม ข้อมูลระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงสภาวะโลกร้อน ระบบการผลิต การ

               ขยายตัวพืชเศรษฐกิจ ข้อมูลผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจข้าวโพด และที่ส าคัญคือข้อมูลวิถีชีวิตของชุมชนต่าง ๆ ในพื นที่

               ป่าให้เป็นที่ประจักษ์ ครอบคลุมรอบด้าน และให้ชุมชน ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ใช้ และตรวจสอบ

               ข้อมูลอย่างทั่วถึง ย่อมจะสลายมายาคติที่ก าหนดนโยบายมาสู่การพัฒนานโยบายการจัดการหมอกควันไฟป่า

               ฐานทรัพยากร และชุมชนบนที่สูงอย่างมีส่วนร่วม



               ข้อมูลที่ไม่ปรากฏจากปรากฏการณ์ฝุ่นควันจากไร่อ้อยในอีสาน


                       ท่ามกลางปัญหาฝุ่นควันที่ประเดประดังในภาคเหนือและกรุงเทพฯ ข่าวคราวฝุ่นควันในภาคอีสานจาก

               อุตสาหกรรมไร่อ้อยที่มีระบบเกื อหนุนให้เผาแปลงอ้อยเพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว และพ่วงด้วยโรงไฟฟ้าชีว

               มวลจากการอ้อยปรากฏเพียงครั งคราว

                       การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของสังคมในเรื่องดังกล่าวไม่ได้มาจากภาครัฐ แต่มาจากนักวิชาการอิสระที่

               น าเสนอเรื่องราวผ่านสื่อสังคมสมัยใหม่ และสื่อมวลชน ภาพฝุ่นควันคละคลุ้งจากการเผาอ้อย แม้จะไม่ได้ลอย

               เข้ามาครอบคลุมเขตเมืองอย่างรุนแรงเหมือนเชียงใหม่ แต่ก็ท าให้ชุมชนในพื นที่รอบไร่อ้อยต้องเผชิญปัญหาฝุ่น

               ควันอย่างรุนแรง

                       การเผาอ้อยมาจากการเติบโตของอุตสาหกรรมน  าตาล มีการเผาอ้อยที่เป็นพืชเชิงเดี่ยวภายใต้ระบบ

               โควต้าซึ่งเป็นพันธะสัญญารูปแบบหนึ่ง โรงงานน  าตาลหลายแห่งยังพ่วงโรงไฟฟ้าชีวมวลที่หลายแห่งไม่มีการ

               ควบคุมที่ดีพอ ปล่อยมลพิษออกสู่อากาศด้วย

                       ขณะที่ในปัจจุบัน จะเกิดโรงงานน  าตาลพ่วงโรงไฟฟ้าชีวมวลอีกอย่างน้อย 4 แห่ง คือที่บ้านไผ่ จ.

               ขอนแก่น อ.เสลภูมิ อ.ปทุมรัตน์ และ อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โรงงานแต่ละแห่ง จะส่งผลให้มีการปลูกอ้อย

               ประมาณ 3 แสนไร่

                       กระบวนการผลิตอ้อยที่ท าให้เกิดปัญหาเผาพื นที่ไร่อ้อยเริ่มจากส านักงานคณะกรรมการอ้อยและ

               น  าตาลทราย (สอน.) ได้ก าหนดวันเริ่มต้นวันหีบอ้อยผลิตน  าตาลทราย ฤดูการผลิตปี 2561/62 ตั งแต่วันที่ 1


               ธันวาคม 2561 ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ท าให้เกษตรกรต้องรีบตัดอ้อยส่งโรงงาน นั่นคือ การเผาไร่อ้อย
               เพื่อให้สะดวกในการตัดและเก็บขน


                       แรงงานตัดอ้อยสะท้อนว่าในวันนึง การตัดอ้อยสด แรงงานจะตัดได้ 100 กว่ามัด ถ้าตัดอ้อยไฟไหม้ก็

               จะได้ 300 กว่ามัด แม้ค่าจ้างตัดอ้อยสดจะสูงกว่า แต่ตัดอ้อยไฟไหมคุ้มกว่า โดยค่าตัดอ้อยสดตันละ 180-200








                                                          -127-
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159