Page 12 - kpiebook62005
P. 12
2. แนวคิดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ของประชาชน
2.1 ที่มาและความส าคัญของการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐกับการปฏิรูปประเทศไทย
หลักการเปิดเผยข้อมูล (Open Data) มีจุดเริ่มต้นจากแวดวงด้านวิทยาศาสตร์ โดยนักสังคมวิทยาชาว
อเมริกัน โรเบิร์ต คิง เมอร์ตัน ผู้ริเริ่มแนวคิดดังกล่าวในปี ค.ศ. 1942 ในการเรียกร้องให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึง
ผลวิจัยได้โดยปราศจากค่าใช้จ่ายใด ๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม แม้ว่าจะเป็นหลักการที่มีมานาน แต่ค าว่า
‘ข้อมูลเปิด’ (Open Data) ถูกใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1995 ในบทความวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาที่
สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศในการวิจัยเกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ เนื่องจาก
เป็นข้อมูลที่มีผลกระทบต่อคนทั่วไป และในช่วงทศวรรษ 1980 นี้ สหรัฐอเมริกาและคณะกรรมาธิการยุโรป
เริ่มมีแนวคิดในการจัดให้ข้อมูลเป็นสินค้าสาธารณะ (Public Goods) หรือสินค้าที่ไม่สามารถกีดกันการใช้ โดย
1
การใช้ข้อมูลของคนๆ หนึ่งไม่ได้ขัดขวางคนอื่น ๆ ในการใช้ข้อมูลเดียวกันนั้น
หลักการเปิดเผยข้อมูลนี้ได้ถูกน ามาใช้มากขึ้นในกระบวนการตื่นตัวเรื่องการตรวจสอบความโปร่งใส
ขององค์กรสถาบันภาครัฐและเอกชน ซึ่งตั้งอยู่บนกรอบกฎหมายส าคัญที่เป็นพื้นฐานของการเปิดเผยข้อมูล คือ
กฎหมายเสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสาร ซึ่งสหรัฐอเมริกาออกกฎหมายดังกล่าวในปี ค.ศ. 1966 อันกล่าวถึง ‘สิทธิ
ของประชาชนที่จะรู้ถึงข้อมูลภาครัฐ’ และในปี ค.ศ. 2007 ได้มีการจัดการเสวนาของกลุ่มผู้สนับสนุนแนวคิด
ข้อมูลเปิด ซึ่งได้เสนอหลัก 8 ประการของการเปิดเผยข้อมูลว่า ‘ข้อมูลต้องมีความสมบูรณ์ (data should be
complete), เป็นข้อมูลขั้นต้น (primary), ทันการณ์ (timely), เข้าถึงได้ (accessible), ประมวลผลได้
(machine-processable), ไม่เลือกปฏิบัติ (non-discriminatory), ปลอดกรรมสิทธิ์ (non-proprietary), และ
2
ไม่ต้องขออนุญาต (license-free)’ และผลของการเสนวนาดังกล่าวท าให้เกิดการตื่นตัวถึงความจ าเป็นในการ
เข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน ซึ่งจะน าไปสู่การพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้แก่ การร่วมมือคิดค้นเทคโนโลยีและ
นวัตกรรมต่าง ๆ และการตรวจสอบความโปร่งใสของภาครัฐ โดยการผลักดันให้ข้อมูลภาครัฐเป็นข้อมูลภาครัฐ
แบบเปิด (Open Government Data) จะส่งผลให้รัฐบาลเป็นรัฐเปิด (Open Government) มากขึ้นนั่นเอง
โดย
1 วิรุฬห์วรรณ พิทักษ์ทอง (2560). Open Data 101: ประวัติศาสตร์ ที่มา และผลส าเร็จจากขบวการท าข้อมูลเปิด. สืบค้นได้
จาก: http://www.uddc.net/th/knowledge/open-data-101
2 Ibid.
-7-