Page 7 - kpiebook62005
P. 7

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 6 (ซึ่งได้รับการปรับปรุงในหมวดที่ 1 สิทธิการส่งเสริมและรักษา

               คุณภาพสิ่งแวดล้อม มาตรา 7 ของร่างพ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ...) พ.ร.บ.

               ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และพ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (มาตรา 10)

                       อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชี้ว่าในทางปฏิบัติ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของ

               ประชาชนยังมีขอบเขตที่จ ากัด ทั้งด้ำนผู้ให้ข้อมูลที่เป็นภาครัฐที่ยังไม่มีความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติในการให้

               ข้อมูล โดยกฎหมายต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น มักจะบัญญัติเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารไว้เป็นการทั่วไป โดย

               ไม่ได้ก าหนดกลไกการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน ในรายงานของกรรมการธรรมาภิบาล

               จังหวัด (กธร.) ในปี 2554 ระบุว่าข้อด้อยที่สุดในการด าเนินการของหน่วยงานรัฐตามหลักธรรมาภิบาลคือใน


               ด้านหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนและการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส โดยพบว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่เปิดเผย

               ข้อมูลข่าวสาร หรือไม่เปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยสะดวก รวมถึงการไม่มีกระบวนการ

                                                                 1
               ให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอย่างชัดเจน  ทางด้ำนผู้รับข้อมูลทั้งองค์กรภาคประชาสังคม
               ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และประชาชนทั่วไป มักจะไม่ทราบถึงสิทธิการเข้าถึง

               ข้อมูลข่าวสารตามกฎหมาย หรือไม่สามารถน าข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปกป้องสิทธิของชุมชนได้

               นอกจากนั้น ยังพบปัญหาของการให้ข้อมูลที่ไม่สนองตอบความต้องการหรือความเข้าใจของผู้ใช้ และปัญหา

               ความไม่ครอบคลุมของการจัดท าข้อมูลซึ่งส่งผลต่อความไม่น่าเชื่อถือของข้อมูลจากภาครัฐ เช่น ในกรณี

               โครงการขยายก าลังการผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่ ที่พบว่าประชาชนในพื้นที่ได้รับข้อมูลที่ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ

               และข้อมูลที่ทางโครงการเปิดเผยต่อประชาชนยังขาดความชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงกันในทางวิชาการ หรือมี

                                         2
               การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่รอบด้าน


               กำรด ำเนินงำนที่ผ่ำนมำที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอโครงกำรและข้อจ ำกัด

                       ระหว่างปี 2544-2549 เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยสถาบัน

               สิ่งแวดล้อมไทย สถาบันพระปกเกล้า มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โครงการยุทธศาสตร์นโยบายฐานทรัพยากร

               ในสังกัดส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยการสนับสนุน


               ของสถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute; WRI) ได้ร่วมวิจัยเพื่อประเมินธรรมาภิบาล





               1  รายงานผลการด าเนินงานคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรี ประจ าปี พ.ศ. 2554
               2  มานิดา เฟื่องชูนุช และจุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (2017). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและ

               สุขภาพ กรณีศึกษาโครงการขยายก าลังการผลิดโรงไฟฟ้ากระบี่. Journal of Community Development Research, 10
               (2): 174-184.


                                                           -2-
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12