Page 6 - kpiebook62005
P. 6
1. บทน ำ
1.1 หลักกำรและเหตุผล
ในปี 2535 ประชาคมโลกรวมถึงประเทศไทยได้ลงนามใน ปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการ
พัฒนา (Rio Declaration on Environment and Development) โดยหลักการข้อที่ 10 ของปฏิญญานี้ระบุ
ว่า การจัดการสิ่งแวดล้อมจะท าได้ดีที่สุดเมื่อประชาชนในทุกระดับมีส่วนร่วม และรัฐจะต้องส่งเสริมและ
อ ำนวยควำมสะดวกให้ประชำชนได้รับข้อมูลข่ำวสำร มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และเข้าถึง
กระบวนการทางปกครองและกฎหมาย รวมทั้งได้รับการเยียวยาความเสียหาย
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนมีความส าคัญอย่างมากในการ
คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของชุมชนและประชาชนในการมีส่วนร่วมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในการด าเนินโครงการขนาดใหญ่ของรัฐและเอกชน ซึ่งมักเกิดปัญหา
การละเมิดสิทธิชุมชน หลายโครงการก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความขัดแย้งใน
สังคมที่ยืดเยื้อยาวนาน เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ล าปาง เขื่อนปากมูน จ.อุบลราชธานี โรงแยกก๊าซและ
โรงไฟฟ้าที่จะนะ จ.สงขลา มาจนถึงโครงการขนาดใหญ่ในปัจจุบัน เช่น โครงการเหมืองทองค าในพื้นที่ 3
จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ โครงการการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และ
โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นต้น ทุกพื้นที่ในประเทศอาจเกิดโครงการประเภทต่าง
ๆ เหล่านี้ได้ในอนาคต ในขณะที่ระบบการปกป้องและคุ้มครองสิทธิชุมชน รวมทั้งระบบการป้องกันผลกระทบ
ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงยังคงต้องปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะการ
สร้างระบบการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความส าคัญต่อการมีส่วนร่วมในการ
วางแผน และการติดตามตรวจสอบ ส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
และน าไปสู่ความไว้วางใจในสังคมไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้กล่าวถึงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของ
ประชาชนในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 41 “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้รับ
ทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ....”
และในหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 59 “รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของ
หน่วยงานของรัฐที่มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับของทางราชการตามที่กฎหมาย
บัญญัติ และต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารดังกล่าวได้โดยสะดวก” นอกจากนั้น ยังมีการ
ประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารหลายฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
-1-