Page 10 - kpiebook62005
P. 10

ร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ และการเข้าถึงความยุติธรรม รวมถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของภาค

               ประชาชนในระดับต่าง ๆ



               1.3  วิธีด ำเนินงำนโครงกำร


                       งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลัก โดยมีวิธีการศึกษาในแต่ละ

               ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

               1)     ทบทวนประเภทและรำยกำรข้อมูลข่ำวสำรเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภำพ ประเมินควำมต้องกำร

                      ของผู้ใช้ และท ำกำรปรับปรุงเพื่อให้เหมำะสมกับบริบทในปัจจุบัน

               1.1)  คณะผู้วิจัยจะท าการทบทวนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ควรจัดไว้ให้ประชาชน

                       ตรวจดูได้ตามมาตรา 9 (8) แห่งพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ทั้ง 6 ประเภท 39

                       รายการ และท าการตรวจสอบหน่วยงานที่รับผิดชอบข้อมูลแต่ละรายการให้เป็นปัจจุบัน พร้อมกับ

                       ระบุผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น ๆ

               1.2)  จัดการสนทนากลุ่มย่อยกับกลุ่มผู้ใช้ข้อมูลที่ได้ท าการระบุ ซึ่งรวมถึง ภาคประชาสังคมที่ด าเนินงาน

                       ด้านปกป้องสิทธิชุมชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตัวแทนชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ

                       ขนาดใหญ่ และนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาร่างรายการข้อมูลข่าวสาร และระบุความ

                       ต้องการของกลุ่มผู้ใช้ในรายละเอียด

               1.3)  คณะผู้วิจัยท าการปรับปรุงประเภทและรายการข้อมูลให้มีความครอบคลุม เหมาะสม และสนองตอบ


                       ความต้องการของผู้ใช้
               2)     ศึกษำหลักกำรกำรให้ข้อมูลข่ำวสำรของหน่วยงำนภำครัฐ และกรณีศึกษำที่ดีในกำรเข้ำถึงข้อมูล


                      ข่ำวสำรเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภำพของประชำชน ทั้งในประเทศและต่ำงประเทศ

               2.1)    ศึกษาทฤษฎี หลักการ การให้ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงหลักเกณฑ์และข้อก าหนดที่มี

                      อยู่ เช่น ประกาศของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ (KPI)

                      ด้านความส าเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ และกรณีศึกษาที่ดีทั้งในประเทศและ

                      ต่างประเทศ โดยการวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารนโยบายสาธารณะ

               2.2)   วิเคราะห์ประเด็น และระบุหลักการการให้และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ดี และเหมาะสมส าหรับ

                      ประเทศไทย ทั้งด้านคุณภาพของข้อมูล (เช่น ข้อมูลมีความสมบูรณ์ครบถ้วน ถูกต้องแม่นย า ตรงกับ

                      ความต้องการของผู้ใช้) และวิธีการในการเข้าถึงข้อมูล (เช่น ประชาชนเข้าถึงได้สะดวกและไม่มี

                      ค่าใช้จ่าย หรือการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทุกกลุ่มคนได้อย่างเท่าเทียม เป็นต้น)




                                                           -5-
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15