Page 14 - kpiebook62005
P. 14
จะเห็นได้ว่า การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐถือเป็นกลไกที่มีความส าคัญอย่างยิ่งในการปฏิรูปประเทศ
เพื่อสร้างภาครัฐแบบเปิด โดยการท าให้ ‘ข้อมูลภาครัฐ’ กลายเป็น ‘ข้อมูลภาครัฐแบบเปิด’ ซึ่งประชาชน
สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก กระบวนการนี้จะเสริมสร้างให้เกิดความโปร่งใสในการใช้อ านาจภาครัฐ ท าให้เกิด
ธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับในการตรวจสอบการ
ท างานของภาครัฐ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของภาครัฐมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันหลายองค์การและหลาย
ประเทศได้ตระหนักถึงความส าคัญ และต่างมีนโยบายหรือแผนการด าเนินงานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเปิดเผย
ข้อมูลภาครัฐด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างข้อมูลแบบเปิด อาทิ องค์การสหประชาชาติได้สร้างเว็บท่า (Portal) เพื่อเป็น
แหล่งรวบรวมไฟล์ข้อมูลเปิดของหน่วยงานต่าง ๆ สหราชอาณาจักรมีเว็บไซต์ที่มีข้อมูลของภาครัฐด้านต่าง ๆ
รวมถึงข้อมูลการใช้จ่ายของภาครัฐและมีการน าข้อมูลไปพัฒนาเป็นแอพลิเคชั่นต่าง ๆ กว่า 300 แอพลิเคชั่น
หรือสหรัฐอเมริกาที่มีการเปิดตัวเว็บไซต์ Data.gov เพื่อสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลเพื่อการตรวจสอบได้ของ
รัฐบาล และออกกฎหมาย Digital Accountability and Transparency Act (DATA) ในปี ค.ศ. 2014 เพื่อให้
ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายภาครัฐโปร่งใสและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น การเคลื่อนไหวที่ชัดเจนขึ้นได้น าไปสู่การจัดตั้งแนว
ร่วมรัฐเปิด (Open Government Partnership: OGP) ในปี ค.ศ. 2011 จากสมาชิกก่อตั้ง 8 ประทศ ได้แก่
บราซิล อินโดนีเซีย เม็กซิโก นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ อเมริการใต้ สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ปัจจุบัน
OGP มีสมาชิก 67 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย
2.2 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภาครัฐในประเทศไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้กล่าวถึงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของ
ประชาชนในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 41 “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้รับ
ทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ....”
และในหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 59 “รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของ
หน่วยงานของรัฐที่มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับของทางราชการตามที่กฎหมาย
บัญญัติ และต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารดังกล่าวได้โดยสะดวก” นอกจากนั้น ยังมีการ
ประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารหลายฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 6 (ซึ่งได้รับการปรับปรุงในหมวดที่ 1 มาตรา 7 ของร่างพ.ร.บ. ส่งเสริม
และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ...) พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และพ.ร.บ.
สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (มาตรา 10)
-9-