Page 18 - kpiebook62005
P. 18

วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยการใช้ดัชนีชี้วัดด้านการมีส่วนร่วม (Public Participation Index:

                                   7
               PPI) อชิชญา อ๊อตวงษ์  พบความขัดแย้งทางข้อมูลระหว่างชุมชนและบริษัทที่ปรึกษาในกรณีท่าเรือกระบี่
               กล่าวคือ มีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างระดับการมีส่วนร่วมที่ประชาชนกล่าวอ้างและที่บริษัทกล่าวอ้าง

               ซึ่งหมายความว่า ในกระบวนการมีส่วนร่วมเดียวกัน ผู้จัดกระบวนการเห็นว่าได้บรรลุระดับที่ท าให้เกิดคุณภาพ

               ในการตัดสินใจแล้ว แต่ผู้มีส่วนได้เสียเห็นว่าบรรลุเพียงระดับที่ท าให้กระบวนการครบถ้วนเท่านั้น นอกจากนั้น

               รายละเอียดของการจัดท ากระบวนการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสารของโครงการจากผลการ

               สัมภาษณ์ชุมชนยังขัดกับรายละเอียดตามร่างรายงาน EIA ของบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งช่องว่างที่เกิดขึ้นได้น าไปสู่

               ความขัดแย้งในพื้นที่ ความไม่ไว้วางใจต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็น และการไม่ยอมรับโครงการในที่สุด


               ปัญหาด้านความขัดแย้งของข้อมูล หรือการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนรอบด้านในลักษณะเดียวกันนี้ มักพบในกรณี
                                                                              8
               การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ เช่น การก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่  หรือโครงการโรงแยกก๊าซและ

                                     9
               โรงไฟฟ้าที่จะนะ จ.สงขลา  โดยเฉพาะในขั้นตอนการจัดท ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และการ
               ท าประชาพิจารณ์โครงการ

                       โดยทั่วไป ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งเป็น ‘ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อ

               สาธารณะ’ เป็นข้อมูลที่จะต้องถูกเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบและสาธารณะได้รับทราบ อย่างไร

               ก็ตาม มาตรา 15 ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ในหมวด 2 ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย ระบุว่า

                       “หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีค าสั่งมิให้เปิดเผย โดยค านึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตาม

                       กฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน”

               และมาตรา 20(2) ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ระบุว่า

                       “ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับตามที่ก าหนดในกฎกระทรวงมีค าสั่งให้

                       เปิดเผยเป็นการทั่วไปหรือเฉพาะแก่บุคคลใด เพื่อประโยชน์อันส าคัญยิ่งกว่าที่เกี่ยวกับประโยชน์

                       สาธารณะ หรือชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรือประโยชน์อื่นของบุคคล และค าสั่งนั้นได้กระท าโดยสมควร

                       แก่เหตุ ในการนี้จะมีการก าหนดข้อจ ากัดหรือเงื่อนไขในการใช้ข้อมูลข่าวสารนั้นตามความเหมาะสมก็








               7  Ashijya Otwong and Tanapon Phenrat (2017). Comparative analysis of public participation in the EIA
               process for Thai overseas investment projects: Krabi coal terminal, Hongsa coal power plant, and Dawei
               special economic zone, Impact Assessment and Project Appraisal, DOI: 10.1080/14615517.2017.1354641
               8 https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:ezUw_uuoPsQJ:https://prachatai.com/sites/def

               ault/files/2012-05-21%2520requirement.doc+&cd=7&hl=th&ct=clnk&gl=th (เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2560)
               9  มูลนิธิบูรณนิเวศ http://earththailand.org/th/pollution/6 (เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2560)


                                                           -13-
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23