Page 16 - kpiebook62005
P. 16

ไม่สามารถทราบถึงความเหมาะสมของข้อมูลในการน าไปใช้ของประชาชน และอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูล

               ของประชาชนหากไม่มีการร้องเรียน

                       ในปี พ.ศ. 2558 ส านักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าได้ท าการทดสอบการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของรัฐใน

               กรณีข้อมูลโควต้าการจ าหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลและท าการส ารวจคุณภาพข้อมูลบนเว็บไซต์ 20 กระทรวง

               ผลการส ารวจพบว่าประชาชนยังเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐได้ยาก มีต้นทุนทั้งเวลาในการด าเนินเรื่องร้องขอ

               และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนข้อมูลที่พบได้บนเว็บไซต์มีเนื้อหาของแต่ละกระทรวงโดยทั่วไป และเน้นการ

               เผยแพร่ข่าวกิจกรรมการท างานในองค์กร แต่ไม่ได้เสนอเนื้อหาที่มีความส าคัญ เช่น ความคืบหน้าของโครงการ

               ส าคัญที่อยู่ในการดูแลของหน่วยงาน ส าหรับข้อมูลด้านสถิติ สัญญาต่าง ๆ อาจจะมีเมนูลิงค์ แต่หลายครั้งไม่


               พบข้อมูล ลิงค์เสีย หรือต้องการให้ใส่รหัสผ่าน เนื้อหาที่ส าคัญบางอย่างจึงจ าเป็นต้องค้นหาที่หน่วยงาน และมัก

               ปรากฏในรูปรายงานที่มีการใช้ภาษาทางเทคนิคที่เข้าใจยาก

                       นอกจากข้อจ ากัดต่าง ๆ ดังกล่าวที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน งานวิจัยยัง

               พบว่าเจ้าหน้าที่ภาครัฐยังขาดแรงจูงใจในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้เห็น

               ความส าคัญของกฎหมายดังกล่าว และมีมติคณะรัฐมนตรีเพื่อสนับสนุนการด าเนินงานอย่างต่อเนื่อง เช่น การ

               ก าหนดให้การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพหรือความโปร่งใสของหน่วยงาน หรือ

               การให้มีการน าข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างเผยแพร่ทางเว็บไซด์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีหน่วยงานรัฐจ านวนมาก

               ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าการให้ข้อมูลข่าวสารของราชการแก่ประชาชนยังคงถูก

               มองเป็น ‘ภาระ’ มากกว่า ‘หน้าที่’ ของหน่วยงานราชการ และในทางปฏิบัติ เมื่อมีการเรียกร้องให้เปิดเผย

               ข้อมูล เจ้าหน้าที่ของรัฐจะปฏิเสธ และรอให้มีค าสั่งจากคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (กวฉ.)

               เพื่อที่จะไม่ต้องรับผิดชอบในภายหลัง เนื่องจากบทลงโทษในกรณีที่ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีน้อยกว่า

               บทลงโทษในกรณีที่เปิดเผยข้อมูลที่อาจถูกตีความว่าเป็นข้อมูลลับของราชการ



               2.3   การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน


                       ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2549 เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยสถาบัน

               สิ่งแวดล้อมไทย สถาบันพระปกเกล้า มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โครงการยุทธศาสตร์นโยบายฐานทรัพยากร

               ในสังกัดส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยการ

               สนับสนุนของ World Resources Institute ได้ร่วมวิจัยเพื่อประเมินธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมในการจัดท า

               นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน โครงการและกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีข้อค้นพบประการหนึ่งว่า

               การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนยังอยู่ในขอบเขตที่จ ากัดมาก จึงมีการ




                                                           -11-
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21