Page 15 - kpiebook62005
P. 15
กฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องส าคัญ ได้แก่ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งก าหนดให้
“หน่วยงานของรัฐ” ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับองค์กรเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบผ่านทางราชกิจจา
นุเบกษา และทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน ทั้งนี้ การดูแลและการพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของราชการตาม
พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ เป็นหน้าที่ของส านักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) ซึ่งเป็น
หน่วยงานในส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรี โดยมีคณะท างาน 2 ชุด ได้แก่ 1) คณะกรรมการข้อมูล
ข่าวสารของราชการ (กขร.) ประกอบด้วยข้าราชการระดับสูงหรือระดับปลัดกระทรวง ท าหน้าที่เป็นผู้ดูแลการ
เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการและ/หรือ หน่วยงานของรัฐ และ 2) คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล
ข่าวสาร (กวฉ.) ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญอิสระที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี ผ่านการเสนอชื่อจาก กขร.
เพื่อท าหน้าที่พิจารณาและชี้ขาดว่าข้อมูลใดเข้าข่ายเป็นข้อมูลที่ต้องปกปิดหรือเปิดเผย ในกรณีที่เกิดการไม่เห็น
ด้วยของประชาชนต่อการปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานของรัฐ
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่ผ่านมาชี้ว่า การบังคับใช้ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ยังมี
6
ข้อจ ากัดอยู่มาก เช่น ในการวิจัยของเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และธิปไตย แสละวงษ์ ในปี 2557 ซึ่งท าการ
ประเมิน พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ตามมาตรฐานของ Open Society Justice initiative พบว่ากฎหมายของ
ไทยเข้ามาตรฐานสากลเพียงข้อเดียวจาก 10 ข้อ และมีข้อค้นพบส าคัญคือ การบังคับใช้กฎหมายการเปิดเผย
ข้อมูลข่าวสารนั้นขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของกฎหมาย และช่องว่างเชิงสถาบัน โดยพ.ร.บ.
ข้อมูลข่าวสารฯ ยังคงเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้วิจารณญาณว่าจะเปิดเผยหรือไม่ เนื่องจากนิยามของ “ข้อมูล
ข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย” กว้างและขาดหลักเกณฑ์ให้หน่วยงานรัฐพิจารณาเป็นมาตรฐานเดียวกัน
นอกจากนั้น ในทางปฏิบัติเมื่อหน่วยงานรัฐปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูล การพิสูจน์ว่าข้อมูลใดควรเปิดเผยเป็น
กระบวนการของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของส านักงานข้อมูลข่าวสารของราชการ
(สขร.) แต่สขร.ยังคงไม่มีอ านาจลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐหรือออกค าสั่งโดยตรง หากแต่ยังต้องอาศัยการสั่งการจาก
หน่วยงานต้นสังกัดหรือนายกรัฐมนตรี
ในส่วนของสขร. ได้มีการด าเนินงานติดตามประเมินผลหน่วยงานรัฐในการปฏิบัติตามพ.ร.บ.ข้อมูล
ข่าวสารฯ เช่นกัน แต่แบบรายงานของสขร.จะเน้นการด าเนินการในแต่ละมาตราหรือไม่เป็นหลัก เช่น ข้อมูลที่
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 การจัดท าบัญชีรายการและการจัดเตรียมข้อมูลแสดง ณ ศูนย์
ข้อมูลฯ ตามมาตรา 9 และการใช้ดุลพินิจตามมาตรา 15 อย่างไรก็ตาม ผลการติดตามเฉพาะหน่วยงานรัฐนี้จะ
6 เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และธิปไตย แสละวงษ์ (2557) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐและการต่อต้านคอร์รัปชั่นในประเทศ
ไทย กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
-10-