Page 17 - kpiebook62005
P. 17
เสนอให้ “ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ” เป็นข้อมูลที่หน่วยงานรัฐต้องเปิดเผยตามมาตรา
9(8) ของพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เป็นกลไกในการคุ้มครอง
สิทธิที่จะรับรู้ข้อมูล และระหว่างปีพ.ศ. 2550-2552 เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมได้จัดประชุมหารือกับ
องค์กรที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และสถาบันการศึกษา ในประเด็นการ
ผลักดันการใช้มาตราดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนสามารถได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพโดย
ไม่ต้องร้องขอ โดยผลจากการประชุมหารือได้ข้อสรุปว่า มีขัอมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ควรจัดให้
ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา 9(8) จ านวน 6 ประเภท 39 รายการ ได้แก่ 1) รายงานและข้อมูลที่จัดท าขึ้น
ตามกรอบกฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2) รายงานการศึกษาวิจัยและข้อมูลต่าง ๆ 3) รายงานการประชุม
และรายงานการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 4) สัญญา สัมปทาน ใบอนุญาต 5) นโยบาย แผนงาน
โครงการ งบประมาณ เงินกู้ และ 6) ความตกลงระหว่างประเทศ และในเดือนกันยายน 2551 องค์กรภาคี 36
องค์กรได้จัดส่งข้อเสนอไปยังคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.) และคณะกรรมการฯ ได้มีมติ
อนุมัติหลักการในการก าหนดข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพดังกล่าว ให้เป็นข้อมูลข่าวสารที่
ต้องจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ ตามมาตรา 9 (8) ของพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ในเดือน
กุมภาพันธ์ 2552
อย่างไรก็ตาม กว่า 10 ปีที่ผ่านมา กลไกดังกล่าวไม่ได้รับการติดตามและทบทวนถึงประสิทธิผลในทาง
ปฏิบัติ และพบว่ามีค าร้องเรียนต่อกขร.จ านวนไม่มาก ดังข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนและอุทธรณ์ ดังตาราง 2.1
ตารางที่ 2.1 สถิติเรื่องร้องเรียน/อุทธรณ์ต่อส านักงานคณะกรรมการสถิติเรื่องร้องเรียนและอุทธรณ์
ปี จ านวนเรื่องร้องเรียน (เรื่อง) จ านวนเรื่องอุทธรณ์ (เรื่อง)
2561 678 456
2560 572 456
2559 457 387
2558 515 301
2557 278 200
2556 416 137
รวม 2,916 1,937
ที่มา : ส านักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2562
นอกจากนั้น ยังพบปัญหาความสับสนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนใน
หลายกรณี อาทิเช่น ในงานศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดท ารายงาน
-12-