Page 179 - b30427_Fulltext
P. 179

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           แห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 สมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
           ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ยกฟ้อง  สืบเนื่องจากการอ้างสิทธิ
                                                            183
           ในการจัดตั้งสมาคมมวยไทยซ้ำซ้อนกันอันอาจทำให้สังคมสับสน

                         แต่การยื่นเรื่องต่อศาลปกครองหรือศาลอื่นภายในประเทศ
           ก็นับเป็นปัญหาอย่างมากในกรณีสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย เนื่องจาก

           ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อข้อบังคับของสมาคมฟุตบอล และธรรมนูญสหพันธ์ฟุตบอล
           นานาชาติ ซึ่งอาจทำให้สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติลงโทษสมาคมฟุตบอลในลักษณะ
           ต่าง ๆ เช่น ตัดสิทธิ์ทีมชาติเข้าร่วมแข่งขันในรายการระดับนานาชาติที่ฟีฟ่ารับรอง

           ดังเช่นเมื่อปี พ.ศ. 2559 ฟีฟ่าได้ส่งหนังสือตักเตือนมายังสมาคมฯ หลังจากที่ได้มีบรรดา
           สโมสรในลีกฟุตบอลภูมิภาคในขณะนั้น ได้แก่ สโมสรสุราษฎร์ เอฟซี, ยะลา ยูไนเต็ด,
           พังงา เอฟซี และ ปัตตานี เอฟซี ร่วมกันยื่นฟ้องสมาคมฟุตบอลต่อศาลปกครอง

           นครศรีธรรมราช เพื่อให้ออกคำสั่งระงับการเลือกตั้งตัวแทนจากลีกภูมิภาค เพื่อเป็น
           ตัวแทนเข้าไปโหวตเลือกตั้งนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลที่จะมีขึ้นในขณะนั้น โดยมีเนื้อหา
           ในหนังสือในลักษณะที่อธิบายว่าธรรมนูญของฟีฟ่าได้บัญญัติให้สมาคมกีฬาฟุตบอล

           ทุกประเทศต้องดำเนินกิจกรรมทางกีฬาฟุตบอลอย่างอิสระ และปราศจากการยุ่งเกี่ยว
           จากบุคคลที่สาม ซึ่งในที่นี้ก็อาจตีความไปได้ว่าหมายถึงศาลภายในประเทศด้วย
           สมาคมฯ จึงมีประกาศให้สโมสรทั้ง 4 สโมสรดำเนินการถอนฟ้อง มิเช่นนั้นจะต้องถูก

           ระงับสิทธิการเป็นสมาชิกของสมาคมฯ คดีดังกล่าวจึงยุติไป 184

                      (4)  มีข้อเสนอแนะให้จัดตั้งอนุญาโตตุลาการทางการกีฬาขึ้น
           ในประเทศไทย


                         องค์กรกำกับกีฬาที่มีหน้าที่ปกครองกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาหรือ
           องค์กรกำกับกีฬาที่เป็นผู้จัดการแข่งขันกีฬาย่อมอาจเผชิญกับข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้ง
           (conflict) ระหว่างองค์กรกำกับกีฬาเองกับสโมสรกีฬาที่เป็นสมาชิกขององค์กรกำกับ

           กีฬาหรือระหว่างองค์กรกำกับกีฬาเองกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละชนิดกีฬาหรือ
           ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬา เมื่อคู่พิพาทเหล่านี้ไม่สามารถเจรจาต่อรอง
           หรือไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาทเพื่อแสวงหาทางออกร่วมกันในขั้นต้นหรือคู่ความ


                 183  สืบค้นใน http://www.admincourt.go.th/adminCourt/m/suit.php.
                 184  ปองภพ นิลนพรัตน์, “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษสโมสรฟุตบอลโดยสมาคมกีฬา
           ฟุตบอลแห่งประเทศไทย,” 4.


                                             1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184