Page 183 - b30427_Fulltext
P. 183

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


                         ในอนาคตองค์กรกำกับกีฬาที่มีหน้าที่ปกครองกีฬาในแต่ละชนิด
           กีฬาหรือองค์กรกำกับกีฬาที่เป็นผู้จัดการแข่งขันกีฬาในประเทศไทย อาจจัดตั้งองค์กร

           ที่ให้บริการอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ หรือองค์กรที่ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการแบบ
           สถาบัน โดยยอมรับกระบวนการอนุญาโตตุลาการมาใช้สำหรับระงับข้อพิพาท
           และอำนวยความยุติธรรมตามหลักการแข่งขันกีฬาที่เป็นธรรมนอกเหนือไปจาก

           กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง กระบวนการยุติธรรมทางอาญา และกระบวนการ
           ยุติธรรมทางปกครอง อันที่จริงประเทศไทยมีการจัดตั้งและดำเนินงานของสถาบัน
           อนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center หรือ THAC) ที่ทำหน้าที่ให้บริการ

           ด้านการอนุญาโตตุลาการและระงับข้อพิพาททางเลือกอยู่แล้ว หากแต่ผู้ทำหน้าที่
           อนุญาโตตุลาการทางการกีฬา (sports arbitrators) นอกจากจะต้องมีความเชี่ยวชาญ
           ด้านกฎหมายสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติทั่วไปแล้ว ยังจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ

           เฉพาะด้านกฎหมายกีฬาอีกด้วย อย่างไรก็ตามกฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ย
           ข้อพิพาทฉบับปัจจุบันที่บังคับใช้อยู่ในประเทศไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติไกล่เกลี่ย
           ข้อพิพาท พ.ศ. 2562 อาจถูกนำมาปรับใช้กับข้อพิพาททางแพ่งและอาญา

           (บางประเภท) ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากกิจกรรมการจัดการแข่งขันกีฬา ทั้งในส่วน
           ข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎระเบียบและไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ผู้เข้าร่วม
           กิจกรรมการแข่งขันกีฬาได้ทำเอาไว้กับองค์กรกำกับกีฬาที่มีหน้าที่ปกครองกีฬา
           ในแต่ละชนิดกีฬาหรือองค์กรกำกับกีฬาที่เป็นผู้จัดการแข่งขันกีฬา โดยให้

           อนุญาโตตุลาการทางกีฬาใช้เป็นเครื่องมือเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในวงการ
           โดยใช้ในการยุติหรือระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น โดยอาจทำให้คู่พิพาทในวงการกีฬา

           สามารถแสวงหาข้อตกลงร่วมกันและทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงการกีฬาที่เป็น
           คู่พิพาทสามารถอยู่รวมกันได้อย่างสมานฉันท์


                 4.1.3 การส่งเสริมการกีฬาของประเทศไทย

                     กฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬาของประเทศไทยหลัก ๆ
           ในปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 กฎหมาย

           ดังกล่าวได้จัดตั้งการกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกีฬา
           อยู่ในข้อ (1) ของมาตรา 8 ของกฎหมายดังกล่าว

                     ในหมวดที่ 4 ว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา ในมาตรา 33

           กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬา คณะกรรมการการกีฬา


                                             1 2
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188