Page 180 - b30427_Fulltext
P. 180

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           ได้พยายามเจรจาต่อรองหรือไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาทเพื่อแสวงหาทางออก
           หรือประสานประโยชน์ร่วมกันแล้ว แต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ในลักษณะที่คู่ความทั้ง

           สองฝ่าย (หรือหลายฝ่าย) ต่างยอมรับในการเจรจาต่อรองหรือการไกล่เกลี่ย
           ประนีประนอม เหตุนี้เองระบบอนุญาโตตุลาการทางการกีฬา (sports arbitration
           system) จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทกัน หรือวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่าง

           องค์กรกำกับกีฬากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาหรือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
           ในวงการกีฬาด้วยกัน ด้วยความเป็นกลางและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยทั่วไป
           หากองค์กรกำกับกีฬาได้ใช้อำนาจตามระเบียบข้อบังคับของตนเพื่อออกคำสั่งลงโทษ

           หรือคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอัน
           ที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือ
           หน้าที่ของสโมสรกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา ไม่ว่าจะเป็นการถาวรก็ดี

           หรือเป็นการชั่วคราวก็ตาม ซึ่งหากสโมสรกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา
           ไม่พอใจในผลของคำสั่งลงโทษและประสงค์จะโต้แย้งคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด สโมสร
           กีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาก็อาจใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งตามขั้นตอน

           ที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับขององค์กรกำกับกีฬา และอุทธรณ์คำสั่งภายในระยะเวลา
           ที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งหากสโมสรกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาดำเนินการ
           ตามขั้นตอนการอุทธรณ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับอย่างครบถ้วนแล้ว แต่ก็ยัง
           ได้ผลไม่เป็นที่พอใจของตน สโมสรกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาอาจนำ

           ข้อพิพาทไปให้อนุญาโตตุลาการทางการกีฬาวินิจฉัยชี้ขาดได้ โดยการระงับข้อพิพาท
           โดยวิธีการอนุญาโตตุลาการทางการกีฬา แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ นั้นก็คือ


                         อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ (ad hoc arbitration) ได้แก่
           อนุญาโตตุลาการที่คู่พิพาทในวงการกีฬาดำเนินการทำข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อตกลง
           ว่าจะใช้วิธีการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการหากมีกรณีพิพาทระหว่างกัน

           เกิดขึ้น พร้อมกับเสนอว่าข้อพิพาทในกรณีใดที่เกิดขึ้น จะให้อนุญาโตตุลาการเป็น
           ผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทนั้น ซึ่งโดยมากมักเป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการ
           ไม่ปฏิบัติตามสัญญาทางแพ่งและพาณิชย์ระหว่างองค์กรกำกับกีฬาที่ปกครองกีฬา
           ในแต่ละชนิดกีฬาหรือองค์กรกำกับกีฬาที่เป็นผู้จัดการแข่งขันกีฬากับสโมสรกีฬาหรือ

           ชมรมกีฬาที่เป็นสมาชิกขององค์กรกำกับกีฬาดังกล่าว รวมไปถึงข้อขัดแย้งเนื่องมาจาก
           การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการแข่งขันขององค์กรกำกับกีฬาที่เป็นผู้จัดกิจกรรมการ

           แข่งขันกีฬาขนาดใหญ่ (major sporting events) เช่น การแข่งขันกีฬาระดับโอลิมปิก


                                              1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185