Page 175 - b30427_Fulltext
P. 175

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


                        (3.1)   การระงับข้อพิพาทในคดีอาญา

                             บรรดากฎหมายว่าด้วยกีฬาเท่าที่มีของไทยนั้น  แทบทุก
                                                                          167
           ฉบับล้วนแล้วแต่กำหนดบทลงโทษทั้งสิ้น ตัวอย่างฐานความผิด เช่น การใช้สารกระตุ้น
           การล้มกีฬา การรับสินบนเพื่อล็อคผลการแข่งขัน การแอบอ้างเป็นสมาคมกีฬา
           การล้มมวย การวางยานักมวย เป็นต้น โดยมีถึง 4 ฉบับ ระบุโทษอาญาเอาไว้  168


                             อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ คดีกลุ่มนี้พบน้อยมาก
                                                                                  169
           เนื่องด้วยข้อจำกัดของการสืบสวนสอบสวน และความเกี่ยวพันกับผู้มีอิทธิพล
           มีเพียงไม่กี่คดีเท่านั้นที่มีข่าวความคืบหน้าไปถึงขั้นที่มีคำพิพากษาออกมา เช่น กรณี

           ของสมชาย พุ่มพันธุ์ม่วง นักมวยที่กรรมการสั่งยุติการชก เพราะชกไม่สมศักดิ์ศรี
           ในศึกมวยไทยลุมพินีเมื่อปี 2557 ต่อมาทางศาลอาญาได้พิพากษาให้จำคุก 1 ปี
                       170
           ไม่รอลงอาญา  ในความผิดฐานล้มมวย
                                             171




                 167  กฎหมายกีฬาเฉพาะของไทยมีทั้งสิ้น 6 ฉบับ เรียงตามลำดับก่อน-หลังได้ดังนี้

                    1. พ.ร.บ.ควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555
                    2. พ.ร.บ.ส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556
                    3. พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558
                    4. พ.ร.บ.กีฬามวย พ.ศ. 2560
                    5. พ.ร.บ.นโยบายกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2561
                    6. พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2562
                 168  จากเชิงอรรถก่อนหน้า กฎหมายฉบับเดียวที่ไม่มีบทกำหนดโทษใด ๆ เลยคือ กฎหมาย
           ในลำดับที่ 5 ขณะที่กฎหมายในลำดับที่ 1 ไม่ได้มีโทษทางอาญา หากแต่เป็นโทษตัดสิทธิเข้าร่วมการแข่งขัน
           กีฬา กฎหมายในลำดับที่ 2 มีทั้งโทษทางปกครองและโทษทางอาญา ส่วนกฎหมายอื่น (กฎหมายลำดับ
           3, 4 และ 6) นอกนั้นมีบทลงโทษทางอาญาทั้งสิ้น
                 169  “เรื่องจริงไม่โม้! ‘สมรักษ์’ ชี้ กม. ‘ล้มมวย’ แค่เสือกระดาษ เหตุ จนท.รัฐกำลังภายในด้อย
           กว่ามาเฟีย,” แนวหน้า, 17 พฤษภาคม 2561, สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2564, https://www.
           naewna.com/local/339559/preview.
                 170  มันตะ มันตะลัมพะ, “ปัญหาข้อกฎหมายและการบังคับใช้ในพระราชบัญญัติกีฬามวย
           พ.ศ. 2542: ศึกษาเฉพาะกรณีการทุจริตและคุณสมบัติของบุคคลในกีฬามวยไทย,” (สารนิพนธ์นิติศาสตร
           มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561): 44-45.
                 171  พ.ร.บ.กีฬามวย พ.ศ. 2542 มาตรา 50 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้นักมวยรับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน
           หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเพื่อจูงใจให้นักมวยกระทำการล้มมวย”


                                             1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180