Page 172 - b30427_Fulltext
P. 172
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
การเจรจา (negotiation) การไกล่เกลี่ย (mediation) การประนีประนอมข้อพิพาท
(conciliation) และการใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (arbitration) การระงับ
ข้อพิพาททางเลือกที่นำมาใช้ในวงการกีฬามีข้อดีที่หลากหลายนั้นก็คือ วิธีการระงับ
ข้อพิพาทเช่นว่านี้รวดเร็วกว่าการนำข้อพิพาทไปฟ้องร้องต่อศาลและประหยัดค่าใช้จ่าย
ของคู่ความ ในขณะเดียวกันผู้คนในแวดวงกีฬาที่มีความรู้จักมักคุ้นหรือเคยมี
ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันก็ยังคงสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเอาไว้
แม้ว่าตามพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556
มาตรา 34 ได้วางหลักเกณฑ์ให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ทำหน้าที่
ไกล่เกลี่ยหรือพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พร้อมกับระเบียบคณะกรรมการกีฬา
อาชีพว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และวิธีพิจารณาเกี่ยวกับการร้องทุกข์และการอุทธรณ์
พ.ศ. 2558 ก็ได้วางหลักเกณฑ์ให้คณะกรรมการสามารถเลือกวิธีการไกล่เกลี่ยให้
ผู้ร้องทุกข์และคู่กรณีในการร้องทุกข์สามารถตกลงกันได้หรือมีมติอย่างใดอย่างหนึ่ง
เพื่อแก้ไขเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ร้องทุกข์ โดยต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
มีความยุติธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ ภายหลังจากที่คณะกรรมการได้พิจารณา
คำร้องทุกข์แล้ว แต่ทั้งพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 มาตรา 34
และระเบียบคณะกรรมการกีฬาอาชีพว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และวิธีพิจารณา
เกี่ยวกับการร้องทุกข์และการอุทธรณ์ พ.ศ. 2558 กลับไม่ได้กำหนดนิยามความหมาย
ของการไกล่เกลี่ยว่าการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางการกีฬาระหว่างผู้ร้องทุกข์และคู่กรณี
ในการร้องทุกข์มีความหมายว่าอย่างไร ซึ่งแท้ที่จริงแล้วการไกล่เกลี่ยให้ผู้ร้องทุกข์และ
คู่กรณีในการร้องทุกข์สามารถตกลงกันได้พึงต้องได้รับความตกลงยินยอมของผู้ร้อง
ทุกข์และคู่กรณีในการร้องทุกข์ด้วย โดยที่มีคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยช่วยเหลือแสวงหาทางออกร่วมกันในการระงับข้อพิพาทให้
ผู้ร้องทุกข์และคู่กรณีในการร้องทุกข์เจรจาต่อรองกันได้อย่างสมานฉันท์ อีกทั้ง
พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 มาตรา 34 และระเบียบ
คณะกรรมการกีฬาอาชีพว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และวิธีพิจารณาเกี่ยวกับ
การร้องทุกข์และการอุทธรณ์ พ.ศ. 2558 กลับไม่ได้กำหนดเกณฑ์ข้อพิพาททางกีฬา
ที่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้และกระบวนการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ทางกีฬาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามเพื่อรองรับข้อพิพาททางแพ่งและทางอาญาที่อาจ
เกิดขึ้นในวงการกีฬาประเทศไทยในอนาคต อาจต้องพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ย
ข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาและข้อพิพาททางอาญา
1 1
สถาบันพระปกเกล้า